ประเทศมาเลเซีย(Malaysia)

ประเทศมาเลเซีย




ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วยดินแดนสองส่วน คือ
มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ประกอบด้วย11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ และปะลิส
มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน) ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์ และซาราวัก นอกจากนี้ยังมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐ อีก 3 เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน

ภูมิศาสตร์
ประเทศมาเลเซียประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนด้วยกัน คือ พื้นที่แหลมมลายู หรือมาเลเซียตะวันตก ซึ่งตอนเหนือของประเทศติดต่อกับประเทศไทย และพื้นที่บนเกาะบอเนียว (Borneo) หรือมาเลเซียตะวันออกซึ่งมีประเทศบรูไน และส่วนหนึ่งของประเทศอินโดนีเซียตั้งอยู่ 

พื้นที่
330,400 ตร.กม.

เมืองหลวง
กรุงกัวลาลัมเปอร์

ภูมิอากาศ
เขตร้อนชื้น (Tropical Climate) อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 22-36 องศาเซลเซียส ซึ่งไม่สูงนักเนื่องจากภูมิประเทศเป็นเขตป่าร้อนชื้นมีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ฝนตกโดยเฉลี่ย 250 เซนติเมตรต่อปี

อัตราแลกเปลี่ยน
1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 3.7 ริงกิต(โดยประมาณ) และ
1 ริงกิต เท่ากับ 11 บาท (โดยประมาณ)

ศาสนา
ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาอิสลาม อย่างไรก็ดี มีผู้นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ ลัทธิเต๋า ฮินดูหรือซิกห์ อยู่ทั่วไป

ภาษา
ภาษาราชการได้แก่ภาษามาเลเซีย สำหรับภาษาอื่นที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ ภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะในแวดวงธุรกิจ และภาษาจี



ประวัติความเป็นมาและการก่อตั้งประเทศ

จากข้อมูลประวัติศาสตร์ มาเลเซียได้รับอิทธิพลจากทั้งอินเดียและจีน ศูนย์กลางแห่ง อารยธรรมเก่าแก่ทั้งสองตั้งอยู่ทางตะวันตกและตะวันออก อิทธิพลนี้รุนแรงมากในบางยุคโดยเฉพาะ อิทธิพลจากอินเดีย มาเลเซียได้รับอิทธิพลจากอินเดียมากในส่วนที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมสมัยต้นและศาสนา ของตน อิทธิพลจีนจะน้อยกว่า ดังที่เราจะเห็นว่าอิทธิพลของจักรวรรดิจีนส่วนใหญ่มักจะไม่มีในทางตรง นอกจากนี้ ที่ตั้งภูมิศาสตร์ก็เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อมาเลเซียในประวัติศาสตร์สมัยต้น ไม่ใช่เหตุบังเอิญ ที่มาเลเซียตั้งอยู่ระหว่างอินเดียและจีนเท่านั้น ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์อื่น ๆ ยังช่วยเพิ่มพูนความสำคัญ ของที่ตั้งของมาเลเซียอีกด้วย ต่างจากประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศที่อยู่ครึ่งทางระหว่างอินเดียและจีน แต่น้อยประเทศที่มีข้อได้เปรียบเป็นพิเศษแบบมาเลเซีย

มาเลเซียตะวันตกเป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรที่ยื่นออกไปทางใต้จากผืนทวีปเอเชียและ ล้อมรอบด้วยทะเลเกือบหมด ถ้าต้องการแล่นเรือออกจากเมืองจีนไปยังอินเดียก็จะต้องแล่นเลียบฝั่ง มาเลเซียทั้งทางตะวันออกและตะวันตก แต่ถ้าหากว่าไม่ต้องการแล่นเรือไปตลอดทางคาบสมุทรมลายูซึ่ง แคบในตอนเหนือก็เป็นสถานที่ที่อำนวยความสะดวกที่สุดสำหรับการถ่ายเทสินค้าจากทะเลจีนไปยัง มหาสมุทรอินเดีย คาบสมุทรมลายูและชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเฉียงเหนือของบอร์เนียวก็มีบทบาท สำคัญในแผนการเดินทาง ทั้งนี้เพราะลมมรสุมเป็นปัจจัยสำคัญทั้งทางด้านภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ เนื่องจากมาเลเซียเป็นสถานที่ที่ลมมรสุมพัดมาบรรจบกัน แต่ในสมัยที่มีการเดินเรือ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ลมมรสุมเป็นลมที่พัดจากสองทิศทางตามเวลาต่างกันในรอบปี ลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้พัดข้ามมหาสมุทรอินเดียจากเส้นศูนย์สูตรระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดจากฝั่งทะเลจีนและข้ามทะเลจีนระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือน เมษายน กล่าวได้ว่าลมมรสุมทั้งสองนี้จะมาบรรจบกันที่คาบสมุทรมลายูหรือโดยทั่ว ๆ ไปก็ในบริเวณหมู่ เกาะมาเลเซีย เรือที่แล่นมาจากเมืองจีนก็จะแล่นลงมาทางใต้ตามลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนเรือ ที่มาจากอินเดียก็จะมาทางตะวันออกตามลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อลมมรสุมเปลี่ยน เรือก็สามารถ เดินทางกลับได้ ฉะนั้นคาบสมุทรมลายูและฝั่งทะเลตะวันตกเฉียงเหนือของบอร์เนียวจึงอยู่ในที่ตั้งที่ ได้เปรียบในการอำนวยที่จอดพักสำหรับผู้ที่จะเดินทางโดยตลอดจากอินเดียไปยังจีน หรือสำหรับผู้ที่จะ รอคอยลมมรสุมเปลี่ยนหรือสำหรับผู้ที่จะเดินทางเพียงครึ่งทางเท่านั้นแต่จะได้พบปะกับพวกพ่อค้า ด้วยกันณ “ที่พักครึ่งทาง” แห่งนี้ อาทิ พ่อค้าชาวจีนสามารถลงมาทางใต้ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือน เมษายน ทำธุรกิจของตนให้เสร็จเรียบร้อยแล้วเดินทางกลับได้ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือน สิงหาคม

ด้วยเหตุนี้ มาเลเซียจึงก้าวเข้ามามีความสำ คัญในประวัติศาสตร์โลก เพราะมี ข้อได้เปรียบจากสภาพทางภูมิศาสตร์เอื้ออำนวย อันที่จริงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของมาเลเซียนับว่าเป็นปัจจัย ที่สำคัญที่สุดที่จะต้องคำนึงถึง ถ้าเราต้องการจะเข้าใจอดีตและแม้แต่ปัจจุบันหรืออนาคตของมาเลเซีย ภูมิศาสตร์ได้ชักนำมาเลเซียให้เข้ามาสู่เวทีประวัติศาสตร์โลก และภูมิศาสตร์ที่ไม่มีประเทศอื่นขนาบแต่ เปิดโล่งให้แก่โลกภายนอก ดังนั้น มาเลเซียจึงได้สัมผัสกับอารยธรรมต่าง ๆ และคนชาติต่าง ๆ มาก ใน ประวัติศาสตร์สมัยแรก ๆ ของมาเลเซีย คนชาติต่าง ๆ เหล่านี้นำเอาวัฒนธรรมและอารยธรรม การค้าและ การพาณิชย์ ศาสนาต่าง ๆ และระบบการเมืองต่าง ๆ มาให้มาเลเซีย ต่อมาก็มีผู้คนจากอินเดียและจีนเขามา ตั้งถิ่นฐาน ในชั้นแรกยังมีจำนวนเพียงเล็กน้อย แต่ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อแหล่งแร่และแหล่ง กสิกรรมของมาเลเซียถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นกิจจะลักษณะแล้ว จึงมีผู้เข้ามาตั้งหลักแหล่งกันเป็น จำนวนมาก ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของมาเลเซียยังทำให้มาเลเซียได้รับเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ นับแต่ช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 อีกด้วย สิ่งเหล่านี้ทำให้มาเลเซียกลายเป็นประเทศที่มีมาตรฐาน การครองชีพสูงที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียทุกวันนี้ การที่ที่ตั้งของมาเลเซียอยู่ใกล้เส้นทางการค้าระหว่าง ตะวันออกกับตะวันตก ย่อมหมายถึงว่ามาเลเซียได้เรียนรู้สิ่งประดิษฐ์ของยุโรปสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 อย่างรวดเร็ว ฉะนั้น จากสภาพภูมิศาสตร์จึงทำให้มาเลเซียมีพลเมืองหลายชาติหลายภาษา และกลายเป็น ประเทศที่เศรษฐกิจก้าวหน้ามากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชีย

หากย้อนไปถึงประวัติศาสตร์ทางการเมืองและประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจของมาเลเซีย เราก็จะได้เห็นว่า เส้นทางการค้าและการเดินทางสำรวจมีอิทธิพลต่อฐานะของมาเลเซียในโลกอย่างไร เรา จะเห็นว่ามลายูและบรูไนรุ่งเรืองนับแต่ในสมัยที่มีสุลต่านปกครองมะละกาเมื่อการค้าระหว่างตะวันออก กับตะวันตกผ่านเข้ามาทางช่องแคบมะละกา และมะละกาเองก็เป็นเมืองท่าสำหรับหมู่เกาะทั้งหมดด้วย ต่อมาเมื่อการค้าของเขตนี้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของชาวฮอลันดา เส้นทางการค้าที่สำคัญระหว่าง ตะวันออกและตะวันตกได้ผ่านไปทางช่องแคบซุนดา ทำให้ปัตตาเวีย (จาการ์ตา) เจริญรุ่งเรืองขึ้น ส่วนมะ ละกาและบรูไนก็เสื่อมลง การเปลี่ยนแปลงยังเกิดขึ้นต่อไปอีกเมื่อมลายูเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในทาง การเมืองระหว่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง เมื่ออังกฤษรื้อฟื้นความสนใจของตนในมาเลเซียในตอนปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 18 การก่อตั้งถิ่นฐานในปีนังและสิงคโปร์ได้ทำให้การค้ากลับคืนสู่ช่องแคบมะละกามาก ขึ้น และในที่สุดก็ทำให้เกิดการพัฒนาสินแร่อันอุดมสมบูรณ์ของมาเลเซียสมัยใหม่ และในระยะเดียวกันนี้ ชาวอังกฤษได้เริ่มให้ความสนใจซาราวักและซาบาห์อันนำไปสู่การมีอิทธิพลของอังกฤษขึ้นที่นั่น เพราะฉะนั้น ฐานะของมาเลเซียในประวัติศาสตร์จึงขึ้น ๆ ลง ๆ ตามความสนใจของชาติมหาอำนาจและ การล่าอาณานิคมเมืองขึ้นจากโลกตะวันตก

นอกจากนี้ การแผ่ขยายของศาสนาอิสลามทำให้เกิดการก่อตั้งระบบสุลต่าน หรืออิทธิพล จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ ซึ่งทำให้เกิดการก่อตั้งสเตรตส์ เซ็ตเติลเมนท์ (Straits settlements) อันเป็นการกำหนดท่าทีอย่างชัดเจนของอังกฤษต่อภูมิภาคส่วนนี้ยังผลให้เกิดอิทธิพลการคุ้มครองของ อังกฤษเหนือรัฐมลายู จนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 จีนจึงเริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อมาเลเซียแต่ยังนับว่า น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับอิทธิพลของอินเดีย และถึงแม้ว่ามาเลเซียจะตั้งอยู่ครึ่งทางระหว่างจีนกับ อินเดีย แต่ในระหว่างศตวรรษก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้น อินเดียก็ยังมีอิทธิพลอยู่ในคาบสมุทรและหมู่ เกาะของมาเลเซียมากกว่าจีนอยู่นั่นเอง

ลักษณะภูมิอากาศ

ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร อยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม



การเมืองการปกครองของมาเลเซีย


ระบบการปกครอง
               มาเลเซียปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ การปกครองเป็นแบบสหพันธรัฐ มีรัฐบาลกลางแห่งสหพันธรัฐ และรัฐบาลของแต่ละรัฐ โดยรัฐบาลกลางตั้งอยู่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย ส่วนรัฐบาลแห่งรัฐตั้งอยู่ในแต่ละรัฐ รวมทั้งสิ้น ๑๓ รัฐ โดยมีประมุขของรัฐเป็นสุลต่านหรือผู้ว่าการรัฐดังนี้
                รัฐที่มีสุลต่านเป็นประมุข จำนวน ๙ รัฐ ได้แก่ เปรัค ปาหัง เซลัง-งอร์ เปอร์ลิส     เคดาห์ เนกรีเซมบิลัน ยะโฮร์ กลันตัน และตรังกานู
                รัฐที่มีผู้ว่าการรัฐเป็นประมุข จำนวน ๔ รัฐ ได้แก่ ปีนัง มะละกา ซาราวัค และ     ซาบาห์
                นอกจากนี้ยังมีเขตสหพันธรัฐ (Federal Territory) อีก ๒ เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ และเกาะลาบวน (อยู่ทางมาเลเซียตะวันออกใกล้กับ บรูไน ดารุสซาลาม)

สถาบันกษัตริย์
               ประมุขของมาเลเซียภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์ เรียกว่า สมเด็จพระราชาธิบดี” หรือ “Yang Di-Pertuan Agong” หรือทั่วไปเรียกว่า อากง” สมเด็จพระราชาธิบดีจะได้รับเลือกจากที่ประชุมของสุลต่านของรัฐทั้ง ๙ รัฐ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนดำรงตำแหน่งคราวละ ๕ ปี เมื่อครบวาระก็จะมีการเลือกใหม่ โดยที่สมเด็จพระราชาธิบดีองค์เดิมไม่มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งในครั้งต่อไป นอกจากนั้นที่ประชุมยังได้เลือกตั้งรองประมุข ซึ่งเรียกว่า “Timbalay Yangdi Pertuan Agong” ขึ้นดำรงตำแหน่งคราวละ ๕ ปี เช่นกัน รัฐที่สุลต่านได้รับเลือกเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี จะมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ (Regent) ขึ้นมาทำหน้าที่ในฐานะสุลต่านแทน เว้นแต่ความเป็นประมุขในทางศาสนาอิสลามในรัฐเท่านั้นที่สมเด็จพระราชาธิบดีจะดำรงสถานภาพไว้เช่นเดิม สำหรับสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันนับเป็นองค์ที่ ๑๑ เป็นสุลต่านของรัฐเซลังงอร์ ชื่อ Tengru Salahuddin Abdul Aziz Shah เข้ารับหน้าที่เมื่อ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๒และในปี ๒๕๔๗   สุลต่าน ตวนกู อิสมาอิล เปตรา แห่งรัฐกลันตัน จะขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ ๑๒ ต่อไป

 นโยบายภายในประเทศ
               ภายหลังได้เอกราชจากอังกฤษ ในปี ๒๕๐๐ นโยบายทางการเมืองของมาเลเซีย ก็ชูธงชาตินิยมมาโดยตลอดโดยพยายามสร้างสัญลักษณ์ประจำชาติในเรื่องต่างๆ ขึ้น นับแต่เพลงชาติ ดอกไม้ประจำชาติ ภาษาประจำชาติ ไปจนถึงรถยนต์แห่งชาติ ทางด้านเศรษฐกิจมาเลเซียเน้นนโยบายการพึ่งตนเอง โดยศึกษาพื้นฐานการพัฒนาจากประเทศในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน ภายใต้นโยบายมองตะวันออก (Look East Policy) สำหรับนโยบายทางด้านสังคมถึงแม้จะมีนโยบายในการสร้างค่านิยมอิสลาม แต่ก็ไม่ได้กระทำอย่างสุดขั้ว เนื่องจากมาเลเซียประกอบขึ้นด้วยคนหลายเชื้อชาติ

นโยบายต่างประเทศ
              มาเลเซียดำเนินนโยบายต่างประเทศในเชิงรุกมาโดยตลอด โดยเร่งพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือกับนานาประเทศโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากต้องการเสริมบทบาทนำและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตนในกลุ่มประเทศเหล่านี้ ตลอดจนเพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับประเทศพัฒนาแล้ว

ข้อมูลเศรษฐกิจประเทศมาเลเซีย (Malaysia Economy)

กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)
238 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
GDP ประเทศมาเลเซีย , Wikipedia
GDP รายบุคคล
14,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
อัตราการเจริญเติบโต GDP
7.2% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
GDP แยกตามภาคการผลิต

  • ภาคการเกษตร 13%
  • ภาคอุตสาหกรรม 36%
  • ภาคการบริการ 51% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
  • มาเลเซียตะวันตก (บนคาบสมุทรมาเลเซีย): ยาง น้ำมันปาล์ม โกโก้ ข้าว
  • รัฐซาบาห์: การเกษตรเพื่อดำรงชีพ ยาง ไม้ซุง มะพร้าว ข้าว
  • รัฐซาราวัก: ยาง พริกไทย ไม้ซุง
  • มาเลเซียตะวันตก (บนคาบสมุทรมาเลเซีย): ยาง กระบวนการแปรรูปและผลิตน้ำมันปาล์ม  การทำเหมืองและถลุงแร่ดีบุก  การแปรรูปไม้ซุง
  • รัฐซาบาห์: การทำไม้ซุง การผลิตน้ำมันปิโตรเลียม
  • รัฐซาราวัก: แปรรูปเกษตรกรรม การผลิตและการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การทำไม้ซุง
งาน Malaysia Job fair 2012 / ภาพ
อัตราการว่างงาน
3.4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)
1.7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553) โดยมีการควบคุมราคาสินค้าประมาณ 30% ของสินค้าทั้งหมด
ผลผลิตทางการเกษตร
อุตสาหกรรม
อัตราการเกิบโตภาคอุตสาหกรรม
7.4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
หนี้สาธารณะ
53.1% ของ GDP (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
ดุลบัญชีเดินสะพัด
34.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
มูลค่าการส่งออก
197 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
สินค้าส่งออก
อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ การผลิตปิโตรเลียมและก๊าซเหลว ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ น้ำมันปาล์ม ยาง สิ่งทอ เคมีภัณฑ์
ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญ
สิงคโปร์ 13.4% สหรัฐอเมริกา 9.5% จีน 12.6% ญี่ปุ่น 10.4% ไทย 5.3% ฮ่องกง 5.1% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
มูลค่าการนำเข้า
152.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
สินค้านำเข้า
อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม พลาสติก พาหนะ เหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์
ประเทศคู่ค้า (นำเข้า)ที่สำคัญ
สิงคโปร์ 11.4% จีน 12.6% ญี่ปุ่น 12.6% สหรัฐอเมริกา 10.7% ไทย 6.2% อินโดนีเซีย 5.6% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
ธนบัตรสกุลเงิน ริงกิต
สกุลเงิน
ริงกิตมาเลเซีย (Ringgit)
สัญลักษณ์เงิน
MYR
อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา

ธนาคารกลางประเทศมาเลเซีย
นโยบายด้านเศรษฐกิจ


  • เปิดรับการค้า การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากตะวันตก เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2563 (Vision 2020) ตามที่อดีตนายกรัฐมนตรี ตุน ดร. มหาธีร์ บิน โมฮัมหมัด ได้ตั้งเป้าหมายไว้
  • ใช้นโยบายการเมืองนำเศรษฐกิจเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์และโอกาสทางการค้าแก่ประเทศ 
  • ขยายการติดต่อด้านเศรษฐกิจและการค้ากับประเทศกำลังพัฒนาเพื่อลดการพึ่ง พาตลาดสหรัฐฯ และยุโรป อาทิ มาเลเซียในฐานะประธานองค์การการประชุมอิสลาม (Organisation of Islamic Conference - OIC) ให้ความสำคัญกับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก OIC (รวม 57 ประเทศ) โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ธนาคารอิสลาม การศึกษา และการท่องเที่ยว 
มาเลเซียได้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจสืบต่อจาก Vision 2020 คือนโยบายวิสัยทัศน์แห่งชาติ (National Vision Policy: NVP) ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างมาเลเซียให้เป็น "ประเทศที่มีความยืดหยุ่นคงทนและมีความสามารถในการแข่งขัน" 

  • โดยจะลดความสำคัญของการลงทุนที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตที่ไม่ยั่งยืนและขาด ประสิทธิภาพ และให้ความสำคัญต่อประเด็นใหม่คือ การเติบโตที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของประสิทธิภาพการผลิตโดยรวม โดยจะเน้นการลงทุนที่มีการค้นคว้าและวิจัย (R & D) และเทคโนโลยีสูง
  • เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานความรู้ (knowledge-based economy) กระตุ้นและเพิ่มพลวัตรของภาคการเกษตร การผลิต และการบริการโดยการใช้ความรู้และเทคโนโลยีวิทยาการ 
  • เพิ่มการมีส่วนร่วมของภูมิบุตร ในภาคเศรษฐกิจชั้นนำ 
  • ปรับให้มีการพัฒนาการทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับสังคมบนฐานความรู้ (knowledge-based society)
  • ช่วงที่ผ่านมามาเลเซียมีความสัมพันธ์ด้านการเมืองที่ไม่ราบรื่น นักกับประเทศตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐฯ เนื่องจากประเทศตะวันตกมองว่ารัฐบาลมาเลเซียมักใช้กฎหมายว่าด้วยความมั่นคง ภายใน (Internal Security Act - ISA) เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่มาเลเซียถือว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องภายในประเทศ และประเทศตะวันตกมักใช้ double standard ในการดำเนินนโยบายกับประเทศต่าง ๆ 
  • วิกฤตการณ์ด้านการเงินและการคลังที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ ในปัจจุบัน เป็นผลจากการเปิดเสรีด้านการเงินและการคลัง ซึ่งประเทศตะวันตกผลักดันอย่างแข็งขัน 
  • ธนาคารกลางประเทศมาเลเซีย
พัฒนาการที่สำคัญ
แม้ว่ารัฐบาลมาเลเซียจะประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและส่งผลให้ เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัดในปี 2545 แต่ความสำเร็จดังกล่าวยังมีอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ แฝงอยู่ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของมาเลเซียโดยรวมได้ 

  • การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (mega projects) ของรัฐบาลไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แม้ว่าในเบื้องต้นจะมีส่วนช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก แต่หากโครงการเหล่านี้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ 
  • โครงการก่อสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ ซึ่งปัจจุบันใช้งานไม่ถึงครึ่งของขีดความสามารถและยังไม่สามารถดึงดูดให้สาย การบินหลักๆ มาใช้บริการ 
  • โครงการ Cyberjaya ซึ่งยังไม่สามารถดึงดูดบริษัทชั้นนำของโลกให้เข้ามาลงทุนได้ตามเป้าหมายที่ กำหนด เป็นต้น
โครงการ Cyberjaya 
โครงการ Cyberjaya 

ในช่วงปี 2549 - 2550 สภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซียในภาพรวมขยายตัวเพิ่มขึ้น เห็นได้จาก 
  • อัตราการว่างงานที่ลดลง 
  • รายได้ประชาชาติต่อหัว เพิ่มขึ้น  
  • การกระจายรายได้  เพิ่มขึ้น
  • รายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวที่เพิ่มขึ้น 
  • การลงทุนของบริษัทเอกชนและบริษัทที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น
  • การได้ดุลบัญชีเดินสะพัด เพิ่มขึ้น  
  • การปรับอันดับความสามารถในการแข่งขัน (world competitive rankings) จากอันดับที่ 28 ในปี พ.ศ. 2548 เป็นอันดับที่ 19 ในปี 2551 เป็นต้น 
กระทรวงการคลัง ประเทศมาเลเซีย

เศรษฐกิจมาเลเซียไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินของสหรัฐฯ มากนัก เนื่องจากภาคการเงินและการธนาคารสามารถป้องกันผลกระทบจากสหรัฐฯ และยุโรปได้ค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม โดยที่ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของมาเลเซียประสบปัญหาและได้รับผลกระทบจากภาวะ เศรษฐกิจโลกถดถอย จึงส่งผลกระทบต่อการส่งออกและภาคบริการ (เช่น การท่องเที่ยว และการขนส่ง) และทำให้เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัวได้น้อยลง ทั้งนี้ รัฐบาลมาเลเซียได้นำนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ มาปรับใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว 
  • การลดอัตราดอกเบี้ย 
  • การส่งเสริมการส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน เอเชียตะวันออก อินเดีย และตะวันออกกลาง
  • การส่งเสริมการลงทุนจากประเทศผู้ผลิตน้ำมัน
  • ความมั่นคงทางการเมืองจะเป็นประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่นักลงทุนต่างชาติ จะใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจเข้าไปลงทุนในมาเลเซีย 
สถิติการค้า ไทย-มาเลเซีย

10 อันดับแรกสินค้าที่ไทยนำเข้าจากมาเลเซีย

10 อันดับแรกสินค้าที่ไหทยส่งออกไปประเทศมาเลเซีย

ที่มา : ศูนย์ศึกษาความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (International Cooperation Study Center, Thammasat University: ICSC:TU)


วัฒนธรรมมาเลเซีย



ในประเทศมาเลเซีย ดินแดนที่มีประชากรมุสลิมเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในภูมิหลังในการเข้ามาของอิสลาม โดยอาณาจักรมะละกา ดินแดนส่วนหนึ่งในประเทศมาเลเซียเป็นรัฐโบราณ รัฐแรกๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับเอาอิสลามขึ้นมาเป็นศาสนาประจำรัฐ และมีอิทธิพลภายในราชสำนักของอาณาจักรมะละกอ

ภายหลังการได้รับเอกราชจากอังกฤษโดยสมบูรณ์เมื่อ ค.ศ. 1957 มาเลเซียได้กลายเป็นรัฐที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ก็มีความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองของมาเลเซียให้เป็นไปตาม ระบอบของอิสลาม ความพยายามเหล่านี้เริ่มเด่นชัดในช่วงทศวรรษ 1970 หรือชื่อเรียกปรากฏการณ์ในครั้งนั้นกันอย่างทั่วไปว่า การเคลื่อนไหวในการเชิญชวน (หรือว่าปรากฏการณ์ดะวะฮ) เป็นช่วงเวลาที่การทำงาน การเผยแพร่อิสลามมีการดำเนินงานอย่างชัดเจนมากขึ้น จากปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวคือ เกิดจากเหตุการณ์วิกฤติน้ำมัน จากการที่ชาติอาหรับผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกมีมติในการลดการส่งออกน้ำมัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีมูลค่าที่สูงขึ้นและได้สร้างความมั่งคั่งให้ ผู้ส่งออกน้ำมัน ผลตามมาหลังจากนั้นคือ การให้การสนับสนุนจากชาติอาหรับเกี่ยวกับกิจการทางศาสนา และการสนับสนุนให้ทุนการศึกษาไปศึกษาต่อในประเทศตะวันออกกลาง









การแสดงของประเทศมาเลเซีย


การแสดงประเภทร่ายรำของชาวมาเลเชีย  เช่น
      1. ระบำซาปิน เป็นการแสดงฟ้อนรำหมู่  ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของชาวมาเลเซียโบราณ ตามประวัติเกิดขึ้นก่อนในดินแดนอาระเบีย  และต่อมาได้มีคนนำมาเผยแพร่ในมาเลเซียในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา       ชาวบ้านทางภาคเหนือและตะวันตกของแหลมมลายูนิยมชมชอบการฟ้อนรำแบบนี้มาก  การแสดงระบำซาปินมีผู้แสดง 12 คน แบ่งเป็นหญิงชายจำนวนเท่ากัน ฝ่ายละ  6 จับคู่เต้นกันเป็นกลุ่ม ใช้การยกเท้ายกขาพร้อมกันเป็นจังหวะ เครื่องแต่งกายเป็นแบบเรียบๆ  ชายใส่หมวกอิสลามหรือหมวกแขก ใสเสื้อกั๊ก นุ่งโสร่ง หญิงนุ่งกระโปรง  เสื้อรัดรูป มีผ้าแพรคลุมศีรษะ เต้นรำตามจังหวะดนตรี ซึ่งบรรเลงจากช้าไปหาเร็ว  เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในการแสดงระบำซาปินนี้ คือ กีตาร์แบบอาระเบียน  หรือชื่อภาษาฝรั่งว่า Gambus กีตาร์ชนิดนี้คล้ายๆ แบนโจ นักดนตรีคนหนึ่งจะถือไว้ระหว่างอก ดีดไปด้วย เต้นสลับเท้าไปด้วย นอกจากกีตาร์แล้ว เครื่องดนตรีอื่นๆ ก็มีใช้ให้จังหวะคือกลองเล็ก  2 หน้า ที่ใช้ตีด้วยฝ่ามือ กลองชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า Maruas ให้จังหวะนำกีตาร์

     2. ระบำโรดัต เป็นการเต้นรำพื้นเมือง  ชุดนี้เป็นการเต้นในเทศกาลประเพณีทางศาสนา ครั้งแรกนิยมใช้แสดงโดยผู้ชายล้วนๆ  ต่อมาวิวัฒนาการมาเป็นแบบสากล คือ ใช้ทั้งหญิงและชายแสดงเป็นกลุ่มรวมกัน  เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในการเต้นรำโรดัต คือ กลอง 2 หน้าลูกเล็กๆ ที่มีชื่อว่า  คาปัต (Kapat) ตีกันให้จังหวะเท้าของผู้เต้น นอกจากกลองแล้วก็มีหีบเพลงบรรเลงด้วย  การแสดงชุดนี้จะช้าไม่รวดเร็วเป็นลักษณะเล่นเท้าธรรมดา

     3. ระบำอาชัค เป็นการรำอวยพรที่เก่าแก่ในราชสำนักของมาเลเชียในโอกาสที่ต้อนรับราชอาคันตุกะ  หรือบุคคลสำคัญของราชสำนัก นอกจากนั้นยังใช้ในการแสดงละครมะโย่งด้วย



ชุดประจำชาติ

สำหรับชุดประจำชาติมาเลเซียของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาว และกระโปรงยาว
พาไปชม 10 ชุดประจำชาติอาเซียน
บาจู มลายู - ประเทศมาเลเซีย

พาไปชม 10 ชุดประจำชาติอาเซียน
บาจูกุรุง - ประเทศมาเลเซีย








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น