ประเทศสาธารณรัฐฟิลิฟินส์(Repblic of The Philippines)

ประเทศสาธารณรัฐฟิลิฟินส์(Repblic of The Philippines)




ฟิลิปปินส์ (อังกฤษ: Philippines; ฟิลิปีโน: Pilipinas) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (อังกฤษ: Republic of the Philippines; ฟิลิปีโน: Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะจำนวน 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กม.และมีลักษณะพิเศษคือเป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก นิวสเปน (พ.ศ. 2064-2441) และสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2441-2489) ได้ครองฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมเป็นเวลา 4 ศตวรรษ และเป็นสองอิทธิพลใหญ่ที่สุดต่อวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในสองชาติในเอเชียที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ (อีกชาติหนึ่งคือติมอร์-เลสเต) และเป็นหนึ่งในชาติที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากที่สุด เป็นการผสมผสานกันระหว่างตะวันตกกับตะวันออก ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ อาร์โนลด์ โจเซฟ ทอยน์บี (Arnold Joseph Toynbee) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษได้กล่าวไว้ในงานของเขาว่า ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศลาตินอเมริกาที่ถูกพัดพาไปยังตะวันออก โดยคลื่นทะเลยักษ์
ที่ตั้ง ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้ ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก

ประวัติศาสตร์
หลักฐานทางโบราณคดีและโบราณชีววิทยาบ่งบอกว่ามีมนุษย์โฮโมเซเปียนส์ เคยอาศัยอยู่ในเกาะปาลาวันตั้งแต่ประมาณ 50,000 ปีก่อน ชนเผ่าที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียได้เข้ามาตั้งรกรากในฟิลิปปินส์ และจัดตั้งเส้นทางเครือข่ายการค้ากับเอเชียอาคเนย์ส่วนที่เหลือทั้งหมดตั้งแต่ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล
เฟอร์ดินานด์ มาเจลลันมาถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1521 (พ.ศ. 2064) มีเกล โลเปซ เด เลกัสปี มาถึงฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1565 (พ.ศ. 2108) และตั้งชุมชนชาวสเปนขึ้น ซึ่งนำไปสู่การตั้งอาณานิคมในเวลาต่อมา หลังจากนั้น นักบวชศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้แปรศาสนาของชาวเกาะทั้งหมดให้หันมานับถือศาสนาคริสต์ ในช่วง 300 ปีนับจากนั้น กองทัพสเปนได้ต่อสู้กับเหตุการณ์กบฏต่าง ๆ มากมาย ทั้งจากชนพื้นเมืองและจากชาติอื่นที่พยายามเข้ามาครอบครองอาณานิคม ซึ่งได้แก่ อังกฤษ จีน ฮอลันดา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และโปรตุเกส สเปนสูญเสียไปมากที่สุดในช่วงที่อังกฤษเข้าครอบครองเมืองหลวงเป็นการชั่วคราวในช่วงสงครามเจ็ดปี (Seven Years' War) หมู่เกาะฟิลิปปินส์อยู่ใต้การปกครองของสเปนในฐานะอาณานิคมของสเปนใหม่ (New Spain) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1565 (พ.ศ. 2108) ถึงปี ค.ศ. 1821 (พ.ศ. 2364) และนับจากนั้นฟิลิปปินส์ก็อยู่ใต้การปกครองของสเปนโดยตรง การเดินเรือมะนิลาแกลเลียน (Manila Galleon) จากฟิลิปปินส์ไปเม็กซิโก เริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 และหมู่เกาะฟิลิปปินส์เปิดตัวเองเข้าสู่การค้าโลกในปี ค.ศ. 1834

การเมืองการปกครองฟิลิปปินส์


ลักษณะเด่นและความสาคัญของการเมืองฟิลิปปินส์ หากจะถามว่าประเทศใดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลทางการเมืองจากตะวันตกมากที่สุด ที่เห็นได้ชัดตั้งแต่ในอดีตจนถึงในปัจจุบัน คาตอบคงหนีไม่พ้นฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ตกอยู่ในอาณานิคมของสเปนกว่า ศตวรรษ ต่อด้วยสหรัฐอเมริกาอีกกว่าครึ่งศตวรรษ จนกระทั่งการประกาศเอกราชในปี 1946 วัฒนธรรมของคนฟิลิปปินส์จึงได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมแบบคาทอลิกจากสเปนในช่วงการครอบครองอย่างยาวนานดังกล่าว ภายใต้สเปนและสหรัฐฯทาให้เกิดการผสมผสานกันทางวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรมพื้นเมือง วัฒนธรรมมุสลิม วัฒนธรรมสเปนและอเมริกัน ศีลธรรมแบบคริสศาสนาได้เข้ามาพร้อมกับการเป็นอาณานิคม และมีบทบาทอย่างมากในการครอบงาบรรทัดฐานของสังคม ประชาชนชาวฟิลิปปินส์จึงมีวัฒนธรรมทางสังคมที่ให้ความสาคัญกับการอุปถัมภ์ค้าจุนซึ่งกันและกัน มีลักษณะครอบครัวที่ใกล้ชิดแบบสเปน แต่มีความทันสมัยแบบอเมริกัน สังคมและสิ่งแวดล้อมในฟิลิปปินส์ภายใต้การครอบครองของสเปนและสหรัฐฯเป็นสิ่งกาหนดให้ฟิลิปปินส์มีความเป็นอยู่เช่นปัจจุบัน ฟิลิปปินส์ถือเป็นประเทศแรกในเอเชียที่มีการปฎิวัติชาติจากอาณานิคมมีการประกาศเอกราชของตนเองแต่ก็ถูกสหรัฐอเมริกาช่วงชิงอานาจอธิปไตยไปภายในพริบตา ถือเป็นประเทศแรกในเอเชียที่มีการประกาศหลักการสิทธิมนุษยชน มีการหยั่งเสียงสอบถามความเห็นทางการเมืองของประชาชนเป็นประเทศแรก ในเรื่องประเด็นความเท่าเทียม/ความเสมอภาคทางเพศนั้นฟิลิปปินส์เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นประเทศเดียวในเอเชียที่หญิงชายมีสิทธิสภาพเท่าเทียมกันมากที่สุดก็ว่าได้ เนื่องจากอิทธิพลและวัฒนธรรมเสรีประชาธิปไตยแบบอเมริกันที่เผยแพร่เข้ามาในช่วงอาณานิคมนั่นเอง ทั้งในเรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ฟิลิปปินส์ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความเจริญรุดหน้ามากที่สุดในเอเชีย กล่าวคือในช่วงทศวรรษที่50-60 ซึ่งเป็นช่วงที่ฟิลิปปินส์ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินและงบประมาณจานวนมากจากประเทศสหรัฐอเมริกา

กล่าวได้ว่าเส้นทางความเป็นประชาธิปไตยและการพัฒนาทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ดูมีเสถียรภาพและมีความมั่นคงเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกัน ฟิลิปปินส์ดูเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าจนยากที่ใครจะตามทันในห้วงขณะหนึ่ง แต่ทว่าเพราะอะไรกันทาให้ประเทศที่ดูเป็นประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพมากที่สุดในเอเชีย กลายเป็นประเทศที่เกิดความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจสูงมากประเทศหนึ่งในปัจจุบัน มีขบวนการต่อต้านอานาจของรัฐเกิดขึ้นอย่างมาก โดยรัฐขาดประสิทธิภาพในการจัดการนอกจากการประนีประนอม เกิดกลุ่มอิทธิพลทางการเมืองนอกระบบอานาจรัฐจานวนมากที่เข้ามาแทรกแซงทางการเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม เกี่ยวพันกับผลประโยชน์และนโยบายสาธารณะระดับชาติจนเกิดปรากฏการณ์การคอรัปชั่นขนาดใหญ่ ฟิลิปปินส์จึงเต็มไปด้วยการเมืองแบบเส้นสาย อานาจรัฐในฟิลิปปินส์จาเป็นต้องพึ่งพิงและได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มก้อนอานาจอิทธิพลท้องถิ่น ซึ่งอานาจนอกระบบดังกล่าวใช้วิธีการรุนแรงอย่างยิ่งในทางการเมือง เช่นกรณีการสังหารนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามและนักข่าวกว่าครึ่งร้อยในจังหวัดกินดาเนาเมื่อหลายปีก่อนเป็นต้น แต่การอธิบายว่า ระบบอุปถัมภ์ที่ฝังลึกในวิถีชีวิตคนรวมทั้งบรรดาผู้นาทาให้ค่านิยมประชาธิปไตยไม่แพร่หลายไม่แทรกซึมเข้าสู่ชีวิตจิตใจ ก่อให้เกิดการปกครองแบบเจ้าพ่อ และการทุจริตคอรัปชั่นในทุกระดับ เป็นผลให้ประชาธิปไตยฟิลิปปินส์ขาดเสถียรภาพเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอในการทาความเข้าใจสังคมฟิลิปปินส์ เพราะยังขาดการเชื่อมโยงทาความเข้าใจในหลายๆมิติ เช่น มิติดด้านเศรษฐกิจเป็นต้น


การเมืองแบบปิตาธิปไตย รัฐปิตาธิปไตยโดยหลักการแล้ว เป็นรัฐที่ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ทางอานาจของผู้ที่ต้องการเข้ามามีอานาจ ขาดระบบราชการที่เข้มแข็ง แต่ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากภายนอกอย่างในกรณีประเทศฟิลิปปินส์ที่ได้รับการช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา การทาความเข้าใจจุดเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สาคัญจนนาฟิลิปปินส์มาสู่การเมืองที่ไร้ประสิทธิภาพเป็นการเมืองแบบปิตาธิปไตยอย่างในปัจจุบัน อาจเริ่มต้นด้วยการทาความเข้าใจการเมืองยุคประธานาธิบดีมาร์กอส มาร์กอสที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีครั้งแรกใน ค.ศ. 1965 ด้วยความเฉลียวฉลาดในการบริหารประเทศทาให้ประเทศฟิลิปปินส์ในช่วงมากอสช่วงแรกก่อนการประกาศกฏอัยการศึกเกิดความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากสหรัฐอเมริกา ในการเลือกตั้งครั้งที่สอง ปรากฏว่ามาร์กอสได้ใช้เงินซื้อเสียงจานวนมาก เกิดการคอรัปชั่นโดยเฉพาะเพื่อนพ้องบริวารของมาร์กอสเองจึงทาให้เกิดการประท้วงจากประชาชน มาร์กอสจึงใช้โอกาสนี้ประกาศกฎอัยการศึกจัดการกับความวุ่นวายดังกล่าว ควบคุมสิทธิ เสรีภาพและการแสดงออกทางการเมืองของพลเมืองกว่า 13 ปี มาร์กอสประกาศนโยบายสังคมใหม่ (New-Society) เพื่อพัฒนาสังคมการเมืองและเศรษฐกิจ แต่ปรากฏว่า ในกระบวนการดาเนินนโยบายดังกล่าว เกิดการทุจริต เอื้อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การลงทุนในหมู่พวกพ้องบริวารอย่างมหาศาล เศรษฐกิจในประเทศฟิลิปปินส์ถูกเรียกจากนักวิชาการว่าทุนนิยมพวกพ้อง (Crony Capitalism) ระบบเศรษฐกิจเกิดภาวะล้มละลายเนื่องมาจากการขาดเสถียรภาพในการจัดการและการแก้ปัญหา ซึ่งได้หมักหมมต้นตอการพัฒนาดังกล่าวอยู่เป็นเวลานาน จนท้ายที่สุดเศรษฐกิจฟิลิปปินส์พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ เกิดวิกฤติเศรษฐกิจอย่างหนัก ทาให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) ต้องเข้ามาจัดการกับระบบเศรษฐกิจและบทบาทของรัฐใหม่ นอกจากเศรษฐกิจในสมัยมาร์กอสจะล้มเหลวและสร้างปัญหาเรื้อรังทางการพัฒนาอย่างมากในภายหลังแล้ว มาร์กอสยังเล่นการเมืองแบบสกปรกกล่าวคือมาร์กอสใช้อานาจในการจัดการฝ่ายที่คิดต่างหรือผู้ที่เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทั้งเปิดเผย คือการใช้กองกาลังเข้าจัดการ หรือแบบซ่อนเร้น คือการสั่งฆ่า ในช่วงหลังเกิดความไม่พอใจการปกครองของมาร์กอสอย่างรุนแรงมากขึ้น กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองต่างๆ เช่นกลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจ นักศึกษา ทหารบางกลุ่ม ชนชั้นกลางก้าวหน้าที่ต้องการเสรีภาพทางการเมือง แม้แต่กลุ่มประชาสังคมทางศาสนา ก็ได้เริ่มรวมตัวกันเพื่อต่อต้านต่ออานาจการปกครองของเผด็จการมาร์กอส การเคลื่อนไหวมีความรุนแรงและยกระดับการเคลื่อนไหวอย่างกว้างขวางมากขึ้นหลังจากการลอบสังหารวุฒิสมาชิกอาควิโน ผู้นาฝ่ายค้านของฟิลิปปินส์ เกิดการรวมตัวต่อต้านมาร์กอสในกรุงมะนิลาโดยเรียกขบวนการเคลื่อนไหวดังกล่าวว่า การปฎิวัติโดยพลังประชาชน (People Power Revolution) มีประชาชนจานวนเกือบหนึ่งล้านคนออกมาต่อต้านมาร์กอส จนสหรัฐอเมริกาซึ่งเคยสนับสนุนเผด็จมาร์กอสในการดารงอานาจต้องเปลี่ยนข้างมาอยู่ข้างเดียวกับประชาชนฟิลิปปินส์


จะเห็นได้ว่าการเมืองฟิลิปปินส์ซึ่งถูกอธิบายว่ามีลักษณะแบบปิตาธิปไตย มีลักษณะของการอุปถัมภ์สูงนั้น มีความชัดเจนมากในยุคของมาร์กอสที่ได้ใช้อานาจของตนอย่างเผด็จการเอื้อประโยชน์ทางการเมืองและโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับพวกพ้อง บริวาร จนเกิดความไม่มีเสถียรภาพและเสรีภาพทางเศรษฐกิจ


การเมืองหลังการล่มสลายของระบอบมาร์กอสนั้น จึงเริ่มเข้าสู่ยุคการพัฒนาทางการเมืองอย่างชัดเจน (Political Development) อากิโน ภรรยาของวุฒิสภาอาควิโนที่เสียชีวิต ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน ยุคนี้เป็นยุคสมัยที่การเมืองฟิลิปปินส์มีการพัฒนาอย่างมาก กล่าวคือ อากิโนได้ลงมติสอบถามประชาชน ปรากฏว่าประชาชนต้องการการพัฒนาทางการเมืองมากกว่าเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากประชาชนอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการของมาร์กอสมาเป็นเวลานาน อากิโนเริ่มเน้นความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองให้มีเสรีภาพและเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนมากยิ่งขึ้น มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี1935 ใหม่ การเมืองช่วงอากิโนเป็นช่วงที่มีการพัฒนาทางการเมืองมากกว่าเศรษฐกิจ


หลังยุคอากิโน นายฟิเดล รามอส ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดี ในยุคนี้เป็นยุคแห่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ในช่วงแรก รามอส ก็ผลักดันนโยบายการเพิ่มอานาจประชาชนเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน


รามอสมีความฉลาดเฉลียวอย่างมากในการใช้นโยบายการทูตเพื่อการพัฒนาซึ่งถือเป็นจุดเด่นของการเมืองในช่วงนี้ รามอสใช้การทูตเป็นหลักเพื่อดึงและเจรจาด้านการลงทุน จนก่อให้เกิดการลงทุนทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งยังเน้นการส่งเสริมผู้ประกอบการทางธุรกิจทั้งในระดับกลางเพื่อขยายฐานทางเศรษฐกิจให้กว้างขึ้น และขนาดย่อยเพื่อเพิ่มความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ทั้งยังสร้างเขตเศรษฐกิจเพื่อการส่งออก การเมืองยุครามอสจึงเป็นการเน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากช่วงอากิโนที่เน้นการพัฒนาทางการเมืองเป็นหลัก


เมื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งใหม่เข้ามา เอสตราดา ซึ่งอดีตเคยเป็นดาราชื่อดัง ขวัญใจคนยากจน เพราะมีนโยบายที่กระจายทรัพยากรเข้าสู่ชนชั้นล่างมากที่สุด ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา นโยบายทางเศรษฐกิจหลายอย่าง ของเอสตราดากระจายความมั่งคั่งสู่ชนชั้นล่างคนยากจนซึ่งมีเป็นจานวนมากในฟิลิปปินส์อย่างมาก จนทาให้เกิดความนิยมต่อตัวเอสตราดาเป็นอย่างยิ่ง แต่แล้ว เมื่อเกิดการกล่าวหาเอสตราดาว่ารับสินบนจากบ่อนการพนันเถื่อน รวมทั้งการเอาเครือญาติพี่น้องพรรคพวกเข้ามาเป็นที่ปรึกษา การอนุมัติเงินของรัฐบาลสนับสนุนบริษัทในเครือญาติ เป็นต้น แม้การรับเงินจากแหล่งการพนันเถื่อนจานวนมากพบว่าเอสตราดาเองนาเงินนั้นมาช่วยคนจนก็ตาม แต่เป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ภายหลังประชาชนออกมาขับไล่เอสตราดาอีกครั้งเรียกว่า People Power ครั้งที่สอง จนเขาต้องหลุดออกจากตาแหน่ง กล่าวได้ว่าประชาสังคมในฟิลิปปินส์มีความเข้มแข็งอย่างมากเมื่อดูจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองในสองช่วงที่ผ่านมา ยุคเอสตราดานั้นก็ได้แสดงความเด่นชัดในเรื่องการเมืองแบบปิตาธิปไตยที่เน้นความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์และการเมืองแบบพวกพ้องในการเมืองการปกครองฟิลิปปินส์อีกครั้ง


ประธานาธิบดีอาโรโย ก็ได้เข้ามารับตาแหน่งจากเอสตราดา อาโรโยมีความโดดเด่นในด้านการทูต อาโรโยสามารถสร้างนโยบายสันติภาพกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ แต่ภายหลังเกิดเหตุการณ์ 9/11 ทาให้อาโรโยหันมาร่วมมือและเน้นการจัดการอย่างรุนแรงกับกลุ่มกบฏในฟิลิปปินส์เอง ซึ่งสหรัฐมองว่าเป็นเครือข่ายการก่อการร้ายที่โยงใยกันกับกลุ่มอัลกอดะห์


ปัญหาที่มีความสาคัญอย่างยิ่งคือเรื่องความขัดแย้งทางศาสนาที่ในส่วนภาคใต้ของฟิลิปปินส์เองนั้นมีประชาชนกลุ่มที่นับถือศาสนาอิสลามอยู่เป็นจานวนมาก แต่คนส่วนใหญ่ในฟิลิปปินส์นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางช่วงสมัยนั้น รัฐบาลมีนโยบายการปฎิรูปที่ดินกระจายการกระจุกตัวของประชากร จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางประชากรในเขตพื้นที่ประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม ทาให้ชาวอิสลามไม่พอใจจนเกิดการต่อต้านเพื่อต้องการขอแยกดินแดน


ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ทุกสมัยโดยเฉพาะในยุคหลังสุดอย่างอาโรโยนั้น ต้องเน้นสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มอิทธิพลอื่นๆอย่างมากเพื่อก่อให้เกิดเสถียรภาพทางการเมือง เพื่อหยุดยั้งการเรียกร้อง การต่อต้านใดๆ การจัดสรรผลประโยชน์ทั้งโดยปกปิดและเปิดเผยจึงกลายเป็นความจาเป็นของการเมืองเชิงอิทธิพลในฟิลิปปินส์


การเมืองด้านอิทธิพล เจ้าพ่อ และอานาจท้องถิ่น เนื่องจากความหลากหลายทางศาสนา ภูมิศาสตร์ของประเทศที่ประกอบไปด้วยเกาะจานวนมาก บวกกับจานวนประชากรฟิลิปปินส์ที่มีเป็นจานวนมาก ฟิลิปปินส์มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ไม่ทั่วถึง


เกิดความยากจนขึ้นเป็นอย่างมาก ขบวนการเคลื่อนไหวเช่นขบวนการเคลื่อนไหวคอมมิวนิสต์ในปัจจุบันก็ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากประชาชนในท้องที่ เพราะรัฐไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรทางอานาจและเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึง คนทั่วไปในฟิลิปปินส์ยังประสบกับความยากจนอยู่มาก ดังนั้นการเมืองเชิงอิทธิพลจึงเกิดจากนักการเมืองหรือ เจ้าพ่อ ท้องถิ่นที่มีอานาจจากการยินยอมยอมรับของประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ และเลือกเข้ามาดารงตาแหน่งทางการเมืองอาจจะเข้ามาทางการซื้อเสียง โดยการเมืองเชิงอิทธิพลเหล่านี้จะเป็นผู้สร้างสายสัมพันธ์ทางอานาจกับรัฐบาลกลางเพื่อควบคุมหรือจัดการตามแนวโน้มเชิงนโยบายของรัฐบาลกลาง ดังที่ทราบกันว่าสังคมฟิลิปปินส์มีความหลากหลายมากและวัฒนธรรมทางการเมืองแบบเสรีประชาธิปไตยที่ถูกปลูกฝังโดยระบบการเรียนรู้แบบอเมริกันที่เน้นความสาคัญของเสรีภาพและปัจเจกบุคคล ภายใต้สังคมที่มีการพัฒนาแบบทุนนิยมที่ไร้ประสิทธิภาพก่อให้เกิดความขัดแย้ง ความหลากหลาย ซับซ้อนของปัญหา กลไกอานาจท้องถิ่นจึงเกิดขึ้น ในลักษณะการเมืองแบบเจ้าพ่อเชิงอุปถัมภ์ ที่มีรัฐบาลกลางเป็นผู้นาจัดสรรความมั่งคั่งสูงสุด ประเด็นดังกล่าวนี้มีความชัดเจนอย่างมากในยุคของประธานาธิบดีอาโรโย ที่มีสายสัมพันธ์กับตระกูลอัมพาทวน ซึ่งได้ก่ออาชญากรรมฆ่าฝ่ายตรงข้ามและสื่อมวลชนกว่า 57 ศพทาให้อาโรโย ที่เคยมีสายสัมพันธ์เป็นพวกเดียวกันต้องประกาศตัดสายสัมพันธ์กับตระกูลนี้อย่างรวดเร็ว
การเมืองภายใต้โครงสร้างอานาจนาของมหาอานาจโลกแน่นอนว่าหลังอาณานิคมสเปนเข้ามาครอบครองดินแดนปัจจุบันของฟิลิปปินส์เป็นเวลานานกว่าหลายร้อยปีนั้น ได้ทิ้งร่องรอยทางวัฒนธรรมทางสังคมการเมือง ไว้อย่างมาก โดยเฉพาะวัฒนธรรมทางสังคม ศาสนา ระบบอุปถัมภ์ ความเป็นพวกพ้อง หลังจากประกาศเอกราชจากสเปน ฟิลิปปินส์ตกเป็นอาณานิคมของสหรัฐอเมริกาอีก โดยสหรัฐฯใช้ฟิลิปปินส์เป็นฐานที่มั่นสาคัญในเชิงยุทธศาสตร์ทางทหารโดยเฉพาะในยุคการต่อสู้กับขั้วอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ฟิลิปปินส์จึงเป็นประเทศที่มีความสาคัญอย่างมากต่อสหรัฐอเมริกา และสหรัฐจึงต้องทาทุกวิถีทางในการเข้ามาบงการ/ออกแบบ/ควบคุม ทั้งในเชิงโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในฟิลิปปินส์ สหรัฐกระทาทุกวิถีทางในการครอบงาการเมืองฟิลิปปินส์ในช่วงการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์แม้จะขัดกับหลักเสรีประชาธิปไตยก็ตามเช่น การที่สหรัฐฯสนับสนุนเผด็จการมาร์กอสที่กดขี่ประชาชน เพื่อการรักษาไว้ซึ่งเสถียรภาพของกองทัพสหรัฐฯในฟิลิปปินส์ นอกจากนั้นสหรัฐอเมริกายังสร้างระบบการศึกษา ตั้งมหาวิทยาลัยและเปิดการเรียนการสอนโดยยึดแนวทางการเรียนรู้อย่างเสรีเช่นเดียวกับอเมริกา ทาให้ประชาชนชาวฟิลิปปินส์เป็นคนที่กระตือรือร้นและตระหนักเรื่องการเมือง สิทธิ เสรีภาพอย่างมาก หลังเหตุการณ์การก่อการร้ายในสหรัฐฯ สหรัฐฯได้โหมกระหน่าทาสงครามการก่อการร้ายอย่างรุนแรง ฟิลิปปินส์ในสมัยอาโรโยก็ตอบรับกับนโยบายดังกล่าวของบุช สหรัฐฯได้มอบเงินจานวนมาก และส่งกาลังทางทหารเข้ามาฝึกฝนกองกาลังในฟิลิปปินส์เพื่อต่อสู้กับกบฏในบริเวณตอนใต้ของประเทศซึ่งสหรัฐฯเห็นว่ามีความเชื่อมโยงกับกลุ่มก่อการร้ายอัลกอดะห์ จะเห็นได้ว่าการเมืองการปกครองฟิลิปปินส์นั้นก็ตกอยู่ภายใต้ระเบียบทางการเมืองแบบสหรัฐอเมริกาที่มีอานาจนาในการกาหนดทิศทางนโยบายทางการเมืองเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน แต่ก็ใช่ว่าการเมืองดังกล่าวจะเต็มไปด้วยความราบลื่น เพราะในอดีต ก็มีกลุ่มประชาชนที่ต่อต้านการครอบงาทางการเมืองของสหรัฐอเมริกาอยู่เสมอเช่น กรณีการเรียกร้องให้ขับไล่กองทัพอเมริกาออกจากฟิลิปปินส์เป็นต้น


ประชาสังคมกับการเมือง ลักษณะสาคัญของการเมืองฟิลิปปินส์ที่มีความโดดเด่นอย่างมากโดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกัน คือการเมืองในพื้นที่ภาคประชาสังคม การเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกภาครัฐเพื่อตรวจสอบการทางานของรัฐบาลกลุ่มแรกๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิดขึ้นในฟิลิปปินส์นี่เอง คือการก่อตั้งองค์กรการเคลื่อนไหวเพื่อตรวจสอบการเลือกตั้งที่เสรี (National Movement for Free Election: NAMFREL) เพื่อจับตาการเลือกตั้งในฟิลิปปินส์ ถือเป็นกลุ่มโครงการของประชาสังคมแรกในเอเชียที่คอยจับตาตรวจสอบการเลือกตั้งในรูปแบบอาสาสมัครซึ่งประสบความสาเร็จอย่างมาก


การเคลื่อนไหวต่อต้านต่อชนชั้นปกครอง อานาจรัฐ ของประชาสังคม ประชาสังคมในฟิลิปปินส์ที่โดดเด่นสองครั้งที่เคลื่อนไหวเพื่อกดดันให้ประธานาธิบดีที่ทุจริต คอรัปชั่นคือ People Power ครั้งที่ 1 ที่กลุ่มประชาชนเดินขบวนจานวนมากเพื่อขับไล่ระบอบเผด็จการมาร์กอสจนประสบความสาเร็จ ต่อมาคือ การเคลื่อนไหวทีเรียกว่า People Power ครั้งที่ 2 การเคลื่อนไหวของประชาชนเพื่อประท้วงการทุจริตของประธานาธิบดีเอสตราดา การเคลื่อนไหวทางการเมืองในระดับประชาสังคมทั้งสองครั้งนั้นมีประชาชนเข้าร่วมจานวนมาก นั่นแสดงให้เห็นความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนชาวฟิลิปปินส์นั่นเอง นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวนอกภาครัฐของฟิลิปปินส์ ก็เกิดขึ้นเป็นจานวนมาก เช่นองกรณ์เอกชนตรวจสอบการเลือกตั้งเป็นต้น


ชาติ (ไม่) นิยมในการเมืองฟิลิปปินส์ กองทัพฟิลิปปินส์มีความน่าสนใจในแง่การไม่เข้ามาแทรกแซงทางการเมือง เพราะรัฐธรรมนูญกาหนดหลักการไว้ชัดเจนเรื่องอานาจของฝ่ายพลเมืองที่อยู่เหนือกองทัพ และทหารก็ยินยอมต่อหลักการดังกล่าวมาอย่างยาวนานจะเป็นบรรทัดฐานทางการเมือง การเมืองฟิลิปปินส์ในปัจจุบันแม้จะปราศจากการแทรกแซงของทหาร แต่ก็เป็นการเมืองแบบอุปถัมภ์โดยรัฐกับเจ้าพ่อ ซึ่งความสัมพันธ์เส้นสายทางอานาจดังกล่าวก็ได้ขับเคลื่อนการเมืองฟิลิปปินส์มาจนถึงปัจจุบัน การตอบคาถามที่สาคัญอีกประการคือเรื่องชาตินิยม เราจะพบว่า ชาตินิยมกลายเป็นเรื่องที่พูดกันมากในช่วงการต่อสู้กับอาณานิคมของสเปนโดยมีวีรบุรษปัญญาชนอย่าง โฮเซ่ ริซัล แต่หลังจากการเข้ามาของสหรัฐอเมริกานั้น การเมืองฟิลิปปินส์ถูกออกแบบให้มีเสถียรภาพ ภายใต้ความอ่อนแอของพลังทางสังคม กล่าวคือด้วยสภาพทางภูมิประเทศ และความหลากหลายของผู้คน ศาสนา ซึ่งแม้จะมีระบบการศึกษาที่พยายามผูกโยงความแตกต่างหลายๆอย่างของประชาชนเข้าด้วยกันแต่ท้ายที่สุด ก็ไม่สามารถกระทาได้อย่างทั่วถึง ความแตกต่างอย่างมากของวัฒนธรรมซึ่งขาดการผูกโยงกันทางอัตลักษณ์ความเป็นชาติอย่างแนบแน่น ทาให้เกิดปัญหาความแตกต่าง แตกแยกของผลประโยชน์อย่างชัดเจน นามาสู่การต่อต้านต่ออานาจรัฐ และโดยเฉพาะในบริบทของการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ด้อยประสิทธิภาพกับจานวนประชากรจานวนมากซึ่งยากจน จึงนาไปสู่ช่องว่างให้เกิดอานาจเก่า คืออานาจแบบ เจ้าพ่ออิทธิพล เข้ามาแทรกแซง การทางานที่บกพร่องของกลไกรัฐกับสังคม จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมของคนฟิลิปปินส์ที่มีสานึกความเป็นปัจเจกมากในชนชั้นกลาง ภายใต้สังคมที่มีคนยากจน ห่างไกลเป็นจานวนมาก เสถียรภาพทางสังคม วัฒนธรรมทางการเมืองที่สอดคล้องและมองจากมุมของผลประโยชน์ส่วนรวมจึงเกิดขึ้นอย่างไม่เพียงพอ กล่าวคือ รัฐฟิลิปปินส์ไม่สามารถใช้ชาตินิยมให้เกิดประโยชน์และความเป็นธรรมทางสังคมขึ้นมาได้ ชาตินิยมฟิลิปปินส์จึงกระจุกตัวและถูกไม่ให้ความสาคัญจากคนยากจน คนชายขอบ ชนชั้นล่าง การเมืองแบบอิทธิพล เจ้าพ่ออุปถัมภ์ การก่อการร้าย ขบวนการแบ่งแยกดินแดน หรือการเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์จึงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและได้รับการยอมรับจากประชาชนท้องที่เสียด้วย กรณีฟิลิปปินส์ในเรื่องชาตินิยมนี้ อาจเปรียบเทียบได้กับชาตินิยมในอินโดนิเซีย เนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศของทั้ง


สองประเทศที่ประกอบไปด้วยเกาะจานวนมาก มีความหลากหลายทางชาติพันธ์ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ประชาชนจึงมีสานึกถึงความเป็นท้องถิ่น (Localism) มากกว่าการคานึกถึงความเป็นชาติ ตรงนี้ก็อาจนับเป็นอุปสรรคสาคัญในกระบวนการพัฒนาการเมืองและเศรษฐกิจแบบสมัยใหม่ เพราะกรอบการพัฒนาทางเศรษฐกิจการเมืองแบบสมัยใหม่นั้นเกิดขึ้นบนฐานหลักของรัฐแบบสมัยใหม่ที่ใช้อานาจอย่างชอบธรรมผ่านกฏหมายและนโยบายรัฐที่ไม่เลือกปฏิบัติและมีผลบังคับใช้อย่างเสมอหน้า ความขัดแย้งระหว่างปัญหาความแตกต่างหลากหลายดังกล่าวจึงเกิดขึ้น ดังนั้นชนชั้นปกครองของทั้งสองประเทศจึงต้องมีกระบวนการสร้างความเป็นชาติ งานของเบน แอนเดอร์สัน เรื่องชุมชนจินตกรรม(Immagine Community) อธิบายการสร้างการจินตนาการร่วมถึงชุมชนชาติ ผ่านรุปแบบของภาษาเดียวกัน อัตลักษณ์เดียวกัน ศิลปะ สถาปัตยกรรม ฯลฯ เพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่เนื่องจากความหลากหลายของสังคม ผู้คน วัฒนธรรม ทาให้ชาตินิยมในประเทศดังกล่าว ไม่ใช่ชาตินิยมที่เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ แต่มีลักษณะ ผิดรูปผิดแบบ ผิดกาละเทศะ หรือถูกใช้อย่างผิดเจตนารม หรือไม่ตอบสนองต่อ แนวคิดชาตินิยมแบบรัฐพัฒนาประชาธิปไตย


การเมืองฟิลิปปินส์กับข้อถกเถียงเชิงทฤษฏีทางรัฐศาสตร์ การเมืองฟิลิปปินส์มีความน่าสนใจในแง่ของการเป็นการเมืองที่สถาปนาระบบการเมืองโดยมีโครงสร้างแบบประชาธิปไตย ภายใต้อิทธิพลและวัฒนธรรมทางสังคมการเมืองแบบอเมริกัน การเมืองฟิลิปปินส์ถ้ามองจากตัวกลไกการเมือง ระบบการเมืองแล้ว เราจะพบว่าการเมืองฟิลิปปินส์มีเสถียรภาพทางการเมืองการปกครองมาก เพราะปราศจากการปกครองโดยทหารอย่างสิ้นเชิง ทหารกลายเป็นเครื่องมือทางการบริหารของฝ่ายพลเรือน ผิดกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคเดียวกัน ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์มากจากการเลือกตั้งทั้งสิ้น อีกทั้งประวัติศาสตร์ของการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมที่ต่อต้านตรวจสอบการทางานของรัฐบาลก็มีความเป็นมาที่น่าชื่นชม คาถามสาคัญคือแล้วทาไมการเมืองฟิลิปปินส์จึงดูด้อยประสิทธิภาพกว่าที่ควรจะเป็น เช่น ความสามารถในการจัดการปัญหาด้านเศรษฐกิจ ทาไมคนฟิลิปปินส์จึงยังยากจน ทาไมจึงเกิดขบวนการต่อต้านอานาจรัฐบาลขึ้นเป็นจานวนมาก ทาไมพรรคคอมมิวนิสต์จึงได้รับความชื่นชมจากชาวบ้านอย่างมากในปัจจุบันเป็นต้น


ก่อนจะตอบคาถามดังกล่าวนั้นมีความจาเป็นอย่างยิ่งที่จะมาทาความเข้าใจกับลักษณะรัฐ ทาความเข้าใจกับชนชั้นปกครอง การใช้อานาจ ในหลายๆมิติ เพื่อนาไปสู่การเชื่อมโยงภาพความสัมพันธ์รัฐและสังคมในฟิลิปปินส์ และทาให้เข้าใจภาวะสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ได้ดียิ่งขึ้น


ในทางการเมือง การอธิบายรัฐและชนชั้นปกครองของฟิลิปปินส์โดยทาความเข้าใจจากแนวคิดของ Max Weber นับว่าสามารถช่วยวางกรอบความคิดเป็นแนวทางเพื่อทาความเข้าใจลักษณะรัฐและชนชั้นปกครองได้เป็นอย่างดี Weber อธิบายว่าในการพิจารณาความสัมพันธ์ทางสังคม เราต้องเข้าใจหลักของคาสองคาหลักคือ อานาจ (Power) กับสิทธิอานาจ (Authority) อานาจคือ โอกาสที่บุคคลสามารถมีการกระทาร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายและความตั้งใจได้แม้จะถูกต่อต้านจากบุคคลอื่น ส่วนสิทธิทางอานาจนั้น คือสิทธิอันชอบธรรมที่จะคาดหวังให้ผู้อื่นเต็มใจเชื่อฟังคาสั่งของตน สิทธิทางอานาจมีที่มาได้ 3 แบบ คือ


1. สิทธิอานาจตามประเพณี (Traditional Authority) คือการมีอานาจตามที่ขนบธรรมเนียมประเพณีกาหนดไว้ สิทธิอานาจลักษณะนี้มีในสังคมดังเดิมและในสังคมปัจจุบัน

2. สิทธิอานาจบนรากฐานของบุญบารมี (Charismatic Authority) เป็นสิทธิอานาจอันเกิดจากคุณลักษณะของผู้นาที่มีบุญบารมีปรากฏเป็นที่ยอมรับนับถือ
3. สิทธิอานาจที่อยู่บนหลักของเหตุผลหรือทางกฎหมาย (Rational-Legal Authority) คืออานาจที่จะกระทาสิ่งต่างๆซึ่งถูกต้องตามหลักของเหตุผลหรือบทบัญญัติของกฎหมาย

แนวคิดเรื่องอานาจและที่มาแห่งอานาจของ Weber นับว่ามีอิทธิพลอย่างมากในการศึกษาทางรัฐศาสตร์ เมื่อนาแนวการวิเคราะห์ทางอานาจของ Weber มาวิเคราะห์สังคมฟิลิปปินส์ เราจะพบว่า การมองภาพการเมืองฟิลิปปินส์ที่มีลักษณะการปกครองแบบรัฐปิตาธิปไตยผสมกับการเมืองท้องถิ่นแบบเจ้าพ่ออุปถัมภ์อย่าชัดเจนมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลฟิลิปปินส์สามารถมีอานาจนาเหนือพลังทางการเมืองอื่นๆ ซึ่งพลังดังกล่าวมีอิทธิพลทางอานาจต่อท้องถิ่นของตนในเชิงฐานอานาจแบบสิทธิอานาจของบุญบารมี (Charismatic Authority)ใช้การอุปถัมภ์ค้าจุนต่อประชาชนที่อยู่ห่างไกลหรือไม่สามารถสัมผัส/เข้าถึงอานาจรัฐแบบราชการได้ ให้เข้ามาอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ซ้อนระบบเข้าไปอีกจากรัฐ เช่นกรณีรัฐบาลอาโรโยที่นักวิชาการเห็นว่าสามารถอยู่ได้เพราะสายสัมพันธ์กับอานาจท้องถิ่น ไม่เฉพาะแค่รัฐบาลอาโรโย่เท่านั้น การเมืองฟิลิปปินส์ยังมีกลไกรัฐที่อ่อนแอและไม่สามารถเข้าถึง/ตอบสนองต่อความหลากหลายทางสังคม วิถีชีวิต ความคิดทางการเมืองของประชาชนฟิลิปปินส์ได้ ในทุกยุคทุกสมัยรัฐบาลก็ต้องควบคุมให้การเมืองอิทธิพลท้องถิ่น อยู่ภายใต้อาณัติของรัฐและช่วยเป็นปากเสียงหรือควบคุมการเคลื่อนไหวต่างๆในท้องถิ่นตนโดนแลกกับผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจจากรัฐ ดังนั้น รัฐและการเมืองอิทธิพลท้องถิ่นต้องสัมพันธ์กันอย่างระบบอุปถัมภ์ต่างตอบแทนเรื่อยมา การเมืองฟิลิปปินส์ที่ดูมีเสถียรภาพจึงถูกชาแระให้เห็นถึงการใช้อานาจ/การเมืองแบบบุญบารมีและแบบอานาจตามประเพณีมากกว่า อานาจตามกฎหมายหรือเหตุผล และนี่คือภาพสาคัญอีกภาพหนึ่งในการทาความเข้าใจสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ในส่วนระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยนั้น Kingsbury เรียกการเมืองฟิลิปปินส์ว่าเป็นประชาธิปไตยแบบคณาธิปไตย เป็นการเมืองแห่งพลังอานาจของครอบครัว ซึ่งครอบงาการเมืองอยู่โดยกลุ่มครอบครัวที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เข้าควบคุมกระบวนการทางการเมืองและธุรกิจของประเทศโดยมีครอบครัวลักษณะดังกล่าว ประมาน 400 ตระกูล เป็นผลมาจากจารีตทางการเมืองเดิม


ในทางเศรษฐกิจ กรอบการวิเคราะห์รัฐและสังคมในทางทฤษฎีเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีนิยมนั้น งานชิ้นที่สาคัญคืองานของ ศาสตราจารย์โยะชิฮะระ คุนิโอะสองชิ้น ชิ้นแรก คุนิโอะศึกษาสภาพสังคมเศรษฐกิจและการเมืองภายใต้ระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบทุนนิยมเสรี คุนิโอะเสนอว่า ในฟิลิปปินส์นั้นเกิดปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอันเกิดจาก ปัญหาการแทรกแซงของรัฐในกลไกตลาดซึ่งไร้ประสิทธิภาพและไม่ทาให้เกิดเสถียรภาพในระบบการแลกเปลี่ยน กลไกตลาดเสรี ประการต่อมาคือการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ล่าช้า หรือไม่สอดคล้องกับบริบทความจาเป็นทางเศรษฐกิจของตน จาเป็นต้องพึ่งพิงเทคโนโลยีจากต่างชาติอย่างเดียว ประการสุดท้ายคือการกีดกันทางเชื้อชาติคือทุนชาวจีนของฟิลิปปินส์ กระบวนการเหล่านี้ได้นามาสู่การกีดกันทุนนิยมออกจากการเป็นหัวหอกนาการพัฒนา คุนิโอะเรียก อาการปรากฏของระบบทุนนิยมใหม่นี้ว่า “ทุนนิยมเทียม”(Ersatz Capitalism)


งานวิจัยอีกชิ้นที่คุนิโอะศึกษาการทางานของระบบทุนนิยมในฟิลิปปินส์ที่สาคัญคือการศึกษาพัฒนาการของชาติและรัฐต่อการเปลี่ยนแปลงและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเปรียบเทียบฟิลิปปินส์และไทย คุนิโอะเสนอว่า ทุนนิยมในประเทศ


ไทยทางานได้ดีกว่าฟิลิปปินส์ ประการแรกคือทัศนคติของรัฐบาลไทยที่มีต่อทุนชาวจีนมีการเลือกปฎิบัติน้อยกว่าฟิลิปปินส์ เพราะฟิลิปปินส์มีการจากัดการลงทุนของการลงทุนจากต่างชาติ ประการที่สอง การเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกลไกตลาดของรัฐบาลฟิลิปปินส์มีมากกว่าไทย รัฐบาลฟิลิปปินส์กาหนดค่าจ้างขั้นต่าไว้สูง เป็นนักแทรกแซง ควบคุมเงินตราต่างประเทศ มีการตั้งรัฐวิสาหกิจไปในทางที่ผิดเป็นตัวจักรหาเงินให้ผู้บริหาร การปล่อยเงินกู้เป็นไปตามคาสั่งผู้นารัฐบาล การแทรกแซงของรัฐบาลฟิลิปปินส์ไม่สามารถทาให้เกิดความเชื่อมั่นต่อสาธารณะชนได้ ในขณะที่ไทยมีลักษณะเสรีกว่าอย่างมาก ประเด็นที่สาม คือรัฐบาลไทยมีความสามารถในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมีวินัยได้ดีกว่ารัฐบาลฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์มีปัญหาความวุ่นวายจากการเคลื่อนไหวของขบวนการคอมมิวนิสต์ ความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมกับคริสเตียน รวมทั้งปัญหาอาชญากรรมที่ทาให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในการลงทุนดาเนินกิจการ ต่างกับไทยที่มีความรุนแรงน้อยกว่า ปัญหาคอมมิวนิสต์กระจุกอยู่แถบชายแดน แม้จะมีการรัฐประหารหลายครั้งแต่แต่ละครั้งก็ปราศจากการต่อสู้ ไม่มีครั้งใดที่กระทบต่อเศรษฐกิจ หรือแทบไม่เกิดผลกระทบต่อสามัญชนเลย โดยสรุปประเด็นสาคัญอีกประการคือคุนิโอะชี้ว่า ที่เศรษฐกิจของไทยมีความเจริญมากกว่าฟิลิปปินส์เพราะว่าประเทศไทยมีความเป็นชาติที่แท้จริง (Echt Nation) มากกว่าประเทศฟิลิปปินส์เป็น


งานวิจัยทั้งสองชิ้นจึงตอกย้าต่อข้อเสนอตามแนวทางเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมที่อธิบายประสิทธิภาพสูงสุดของรัฐจะเกิดขึ้นได้เมื่อปล่อยให้กลไกตลาดทางานอย่างเสรีมากที่สุด ดังนั้นเศรษฐกิจการเมืองในฟิลิปปินส์ไม่มีประสิทธิภาพก็เพราะทุนนิยมเทียม(รับแทรกแซงกลไกตลาดอย่างไร้ประสิทธิภาพ,กีดกันการลงทุนจากต่างชาติ,ด้อยการพัฒนาเทคโนโลยี)นั่นเอง


การต่างประเทศ: การเมืองภายใต้อานาจจักรวรรดินิยมอเมริกา เดวิด ฮาร์วีย์ เสนอว่า ผู้สร้างอานาจนา (Hegemon)ใดๆก็ตาม,ถ้ายังต้องการคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์แห่งการสระสมทุนอย่างไม่มีขอบเขตจากัด(Endless Capital Accumulation), มันจาเป็นต้องขยายออกไป เพิ่มขนาดออกไป และเพิ่มความรุนแรงแห่งอานาจของมัน (Intensify Its Power)


การทาความเข้าใจจักรวรรดินิยมอเมริกันในแง่นี้เป็นทฤษฎีจักรวรรดินิยมแบบมาร์กซิสที่เน้นความสาคัญของทุนภายใต้การทางานของสังคมและรัฐ-ชาติแบบทุนนิยม เป็นการมองการเมืองอเมริกาที่เข้ามามีบทบาทต่อประเทศฟิลิปปินส์ในแง่ของการเข้ามาครอบครองเพื่อหาประโยชน์ทางการขูดรีดทางเศรษฐกิจและทรัพยากรอันมีค่า โดยเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองให้เป็นแบบเสรีนิยมประชาธิปไตย มีระบบเศรษฐกิจแบบกลไกตลาดเสรี เพื่อก่อให้เกิดเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายทุนและปัจจัยการผลิตมากยิ่งขึ้น การมองการเมืองฟิลิปปินส์ภายใต้แนวคิดจักรวรรดินิยมในแง่นี้จึงเน้นความสาคัญทางเศรษฐกิจที่เป็นพลังผลักดันให้เกิดการขยายตัวของทุนจนนามาสู่การขยายฐานทางอานาจไปสู่ดินแดนอาณานิคม นั่นคือสหรัฐอเมริกาเห็นความจาเป็นทางเศรษฐกิจและต้องทาประเทศฟิลิปปินส์ให้เป็นประเทศที่เน้นระบบตลาดเสรี จึงต้องมีปฏิบัติการทางการเมืองต่อฟิลิปปินส์


นอกจากทฤษฎีจักรวรรดินิยมแบบมาร์กซิสที่เน้นความสาคัญทางเศรษฐกิจยังมี ทฤษฎีจักวรวรรดินิยมที่ถูกเสนอโดยนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม คือแนวคิด Imperialism ของ Joseph Schumpeterซึ่งSchumpeter มองจักรวรรดินิยมเกิดจากความต้องการและสัญชาติญาณของมนุษยชาติ ที่ต้องการทาสงครามหรือเข้ายึดครองดินแดนโดยเกิดจากความโน้มเอียงทางจิตใจมากกว่าเศรษฐกิจกาหนด Schumpeterมองว่าแนวคิดจักรวรรดินิยมแบบนี้ไม่เข้ากับยุคทุนนิยมและจะหมดความสาคัญไป ข้อถกเถียงและคาอธิบายสาคัญที่เกิดจากทฤษฏีจักรวรรดินิยมนี้จึงน่าสนใจในการอธิบายการเมืองภายใต้โครงสร้างอานาจโลกของฟิลิปปินส์ เพราะสหรัฐฯนั้นเห็นความสาคัญของยุทธศาสตร์ทางการทหารของฟิลิปปินส์มากกว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สหรัฐฯจึงต้องเข้ามาครอบนาทางการเมืองในระดับโครงสร้างเพื่อใช้ฟิลิปปินส์เป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทางการเมืองฝ่ายตรงข้าม เห็นได้ชัดในช่วงสงครามกับอุดมการณ์แบบคอมมิวนิสต์จนกระทั่งในปัจจุบันคือ สงครามต่อต้านการก่อการร้ายที่ สหรัฐฯก็ให้ฟิลิปปินส์เข้าไปจัดการกับขบวนการก่อการร้ายในภาคใต้ของฟิลิปปินส์เอง โดยสหรัฐฯสนับสนุนทั้งการทหาร การฝึกสอน งบประมาณเป็นต้น ฟิลิปปินส์จึงเป็นประเทศหนึ่งที่ถูกนาเสนอโครงสร้างทางการเมืองรูปแบบของประชาธิปไตยที่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้กาหนด และยังต้องการให้เกิดขึ้นกับประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


การเมืองการปกครองฟิลิปปินส์ : ภาพสะท้อนการเมืองการปกครองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐแบบปิตาธิปไตยที่อานาจรัฐแปลงเปลี่ยนไปตามกลุ่มก้อนทางอานาจที่เข้ามาครอบงาอานาจรัฐแบบฟิลิปปินส์นั้น เกิดขึ้นภายใต้ระบอบการเมืองที่ดูมีเสถียรภาพอย่างมาก แต่ด้วยสภาพทางสังคมที่มีความแตกต่างในทางวัฒนธรรมจนกระทั่งแนวคิดชาตินิยมที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพมากนักเพราะเป็นชาตินิยมที่ถูกจากัดอยู่ในกลุ่มชนชั้นกลางซะส่วนใหญ่ ในส่วนชนชั้นล่าง คนยากจน คนชายขอบในฟิลิปปินส์ปัญหาด้านเศรษฐกิจปากท้องเป็นปัญหาสาคัญลาดับแรก คนจนในฟิลิปปินส์ที่ไม่สามารถเข้าถึงอานาจการจัดการทางนโยบายของรัฐในฟิลิปปินส์มีเป็นจานวนมาก ทาให้เกิดช่องว่างการก่อตัวของอานาจแบบอิทธิพลและการเมืองแบบเจ้าพ่ออุปถัมภ์ขึ้นครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ทาหน้าที่เชื่อมโยงการเมืองระดับชาติ เข้ากับการเมืองที่หลากหลายของท้องถิ่น รัฐบาลฟิลิปปินส์จะสามารถอยู่ในอานาจนาได้ก็ต้องดูแลเชื่อมสายสัมพันธ์กับกลุ่มการเมืองอิทธิพลเหล่านี้เพื่อควบคุมให้เกิดความเรียบร้อย การเมืองแบบปิตาธิปไตยที่ที่เน้นสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกับอานาจอิทธิพลท้องถิ่นนั้น นอกจากจะเกิดขึ้นในฟิลิปปินส์แล้ว ยังสามารถทาความเข้าใจลักษณะการใช้อานาจดังกล่าวในกรณีของอินโดนีเซียซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และมีความแตกต่างทางภูมิศาสตร์อย่างมากเช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ ดังนั้นคนอินโดนีเซียอาจคล้ายคลึงกันในแง่นิยมความเป็นท้องถิ่น มากกว่าชาติ แต่น้อยกว่าฟิลิปปินส์ เพราะชาตินิยมในอินโดนีเซียมีความเข้มแข็งกว่าฟิลิปปินส์ ชนชั้นนาอินโดนีเซียใช้การเมืองแบบชาตินิยมต่อสู้กับอาณานิคม สร้างชาติให้เข้มแข็งขึ้นด้วยการขยายภาษาของชาติ ผ่านระบบการศึกษาสมัยใหม่เป็นต้น ลักษณะการใช้อานาจการปกครองของชนชั้นนาในอินโดนีเซียจึงมีทั้งด้านที่เป็นเหตุผลทางกฏหมายสมัยใหม่และด้านของการประสานประโยชน์กับชนชั้นนาทางการเมืองและกลุ่มอิทธิพลท้องถิ่น หรือกลุ่มชนชั้นนาทางธุรกิจอีกด้วย


ในกรณีของประเทศบรูไนนั้น บรูไนมีการปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้นาทางการปกครองและการบริหารสูงสุด การเมืองในบรูไนจึงเป็นการเมืองที่ปิดตาย การกาหนดนโยบายการจัดการทรัพยากรใดๆล้วนมาจากการตัดสินของพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น คาถามคือแล้วทาไมคนบรูไนจึงยินยอมต่ออานาจนาเด็ดขาดของกษัตริย์ ไม่เรียกร้องสิทธิ เสรีภาพทางการเมืองเลย การตอบคาถามดังกล่าวก็ต้องเริ่มจากการทาความเข้าใจอานาจและลักษณะการใช้อานาจของกษัตริย์บรูไนที่เน้นการจัดสวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึงเป็นอย่างมาก คนบรูไนมีความเป็นอยู่ที่ดีอันเนื่องมากจากความร่ารวยจากการเป็นประเทศผู้ผลิตน้ามัน ธุรกิจปิโตรเลียมดังกล่าวมีมูลค่ามหาศาลและถูกผูกขาดกิจการเป็นของรัฐกษัตริย์ บรูไนจึงมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจสูงและนาความมั่งคั่งดังกล่าวมาจัดสรรให้กับประชาชนบรูไนให้มีความเป็นอยู่ดี ประกอบกับการใช้กลไกรัฐจัดการกับความคิดทางการเมืองที่เห็นต่าง ลักษณะอานาจเป็นอุปถัมภ์ดังกล่าวคล้ายคลึงกับฟิลิปปินส์เพียงแต่ชนชั้นปกครองฟิลิปปินส์มีลักษณะเป็นกลุ่มก้อนทางอานาจมากกว่าบรูไนที่มีเพียงคนเดียว อานาจแบบปิตาธิปไตยลักษณะอานาจที่ แปรผันกับอุดมการณ์ของชนชั้นนา อานาจแบบบุญบารมีจึงสามารถอธิบายรัฐและชนชั้นปกครองในเอเชียตะวันออกแยงใต้ได้ในระดับหนึ่ง


ในเรื่องบทบาทรัฐในการเมืองฟิลิปปินส์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจนั้น งานวิจัยของคุนิโอะ ชี้ให้เราเห็นภาพการทางานของทุนนิยมในฟิลิปปินส์ที่มีความบกพร่องจากการแทรกแซงทางเศรษฐกิจของรัฐที่ไม่ทาให้เกิดการกระตุ้นเสถียรภาพการทางานของระบบตลาดอย่างเสรี ก่อให้เกิดระบบทุนนิยมพวกพ้อง (Crony Capitalism) ที่ขัดขวางการทางานของระบบตลาดเสรี ทั้งยังด้อยต่อการพัฒนาทางเทคโนโลยีซึ่งไม่สอดรับกับภาคการผลิต และรัฐยังมีนโยบายกีดกันชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในฟิลิปปินส์ ยกเว้นสหรัฐอเมริกา นี่คือตัวอย่างที่คุนิโอะเห็นว่า ทุนนิยมในฟิลิปปินส์กลายเป็นระบบเศรษฐกิจที่ทางานภายใต้การแสวงหากาไรจากผู้แสวงหาส่วนเกินทางเศรษฐกิจและนักเก็งกาไร นายทุนแบบแปลกๆ คือนายทุนแบบอิทธิพล (Crony Capitalist) รวมบทบาทรัฐนาการพัฒนาทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ที่ด้อยประสิทธิภาพ ซึ่งธุรกิจยังถูกผูกขาดด้วยนายทุนอิทธิพลดังกล่าวจึงทาให้ทุนนิยมฟิลิปปินส์เป็นทุนนิยมเทียม


จะเห็นได้ว่าถ้าเราเปรียบเทียบการทางาน ของระบบทุนนิยมดังกล่าวกับประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เราจะพบว่าทุนนิยมในประเทศที่มีลักษณะใกล้เคียงกันในกรณีนี้ขอยกตัวอย่างคือ กรณีของอินโดนีเซียซึ่งในช่วงยุคหลังเป็นเอกราชนั้นมีลักษณะทางเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกับฟิลิปปินส์ เพราะมีการกีดกันโดยรัฐต่อทุนต่างชาติและนโยบาย กีดกันชาวจีน มีการใช้อานาจรัฐในการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องทั้งในเชิงรูปธรรมทางนโยบายและงบประมาณเป็นต้น แต่ในภายหลังการเข้าสู่ยุคประชาธิปไตยแบบมีผู้นาและยุคระเบียบใหม่ ก็ยังคงมีปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกันในลักษณะของอานาจที่เกิดจากการแทรกแซงของกลไกนอกระบบเศรษฐกิจ แต่เปลี่ยนจากการเมืองแบบอิทธิพลที่มีกลุ่มก้อนทางอานาจนอกระบบเข้มแข็งเป็นนายทุนราชการ (Bureaucratic Capitalism)  เช่นในสมัยซูฮาโต้นั้น พบว่าซูฮาร์โตได้ใช้เครือข่ายอุปถัมภ์ระหว่างสานักประธานาธิบดีของเขาเชื่อมโยงกับเครือข่ายบริษัทผลิตน้ามันระดับชาติและมูลนิธิต่างๆ


การเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : การเมืองของการสร้างการครองความคิดจิตใจ แนวคิดการครองความคิดจิตใจ (Hegemony) เป็นทฤษฎีทางการเมืองของ อันโตนิโอ กรัมชี นักคิดทางการเมืองแนวมาร์กซิสชาวอิตาลี่ อธิบายว่า การครองความคิดจิตใจ (Hegemony) นั้น คือการที่ชนชั้นปกครองทาให้เกิดการยินยอมยอมรับอย่างกว้างขวางของชนชั้นผู้ถูกปกครอง โดยการทาให้เกิดการยินยอมยอมรับดังกล่าวนั้นไม่ได้ผ่านการบังคับหรือใช้กาลัง แต่คือการโน้มน้าวผู้คนให้ยอมรับต่อคุณค่าทางการเมืองและศีลธรรมของชนชั้นปกครองจนเกิดการยินยอมยอมรับในระดับของจิตสานึก กลายเป็นสามัญสานึก (Common Sense)ในระดับชีวิตประจาวัน ดังนั้นบทบาทของรัฐจึงมีหน้าที่ในการสร้างการครอบงาและปลูกฝังความคิดแก่ชนชั้นผู้ถูกปกครองให้ยอมรับในคุณค่าทางการเมืองและอานาจของชนชั้นปกครอง ส่วนสังคมนั้น กรัมชี่มองว่า สังคมคือส่วนประกอบที่สาคัญสองส่วนคือ สังคมการเมือง (Political Society)และประชาสังคม (Civil Society) สังคมการเมืองเป็นเรื่องของภาครัฐ รัฐบาล การใช้อานาจเชิงกลไก ส่วนประชาสังคม เป็นพื้นที่ของภาคเอกชน รัฐในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาสังคมเรียกว่า รัฐด้านจริยธรรม (Ethical State)หรือรัฐด้านวัฒนธรรม(Cultural State) โดยการสร้างการครองความคิดจิตใจต้องทาสงครามช่วงชิงพื้นที่ทางความคิด (War of position) เพื่อสร้างการยินยอม(Consent) ภายในประชาสังคม ควบคู่ไปกับการทาสงครามช่วงชิงที่มั่น (War of Movement)ที่ใช้วิธีการแบบกลไกบังคับ (Coercion) ภายในสังคมการเมือง


เราสามารถอธิบายความสัมพันธ์ทางอานาจของรัฐและสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ด้วยการอธิบายผ่านกรอบคิดดังกล่าวที่ศึกษาการเมืองและอานาจเพิ่มเติมจากมาร์กซิสในอดีตที่เน้นความสาคัญทางเศรษฐกิจและพลวัตรทางชนชั้นเป็นหลัก กล่าวคือ แนวคิดดังกล่าวมีส่วนสาคัญอย่างยิ่งในการศึกษาการเมืองเชิงอุดมการณ์ของชาติในภูมิภาคนี้


กล่าวคือชนชั้นปกครองหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอดีต การทาให้เกิดการยินยอมต่อการใช้อานาจนั้น มักใช้ผ่านการบังคับทางการทหาร (Coercion) ซึ่งเป็นช่วงของการเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ทางการเมือง แนวคิดเรื่องความเป็นรัฐ-ชาติ เข้ามา ก่อให้เกิดการแบ่งหน้าที่ในทางการเมืองอย่างชัดเจน การรวบรวมชาติจึงจาเป็นต้องใช้อานาจแบบบังคับดังกล่าว เช่น ภายหลังแนวคิดเรื่องรัฐ-ชาติที่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น ชนชั้นนาไทยจาเป็นต้องใช้กองกาลังทหารเพื่อไปปราบผู้ที่ทาตัวเป็นกบฎต่อต้านอานาจจากส่วนการ ต่อต้านการรวมศูนย์อานาจ เช่นกบฎผีบุญ กบฎเมืองแพร่ กบฏแขกเจ็ดหัวเมือง ทางภาคใต้เป็นต้น เพราะในอดีต การปกครองในสมัยก่อนไม่มีความชัดเจนในทางภูมิศาสตร์ แต่เมื่อกรอบคิดความเป็นรัฐสมัยใหม่เข้ามาก็ก่อให้เกิดการต่อต้านดังตัวอย่าง นอกจากการใช้กลไกความรุนแรงจัดการแล้ว การจะทาให้ผู้คนในท้องที่ห่างไกลสยบยอมต่ออานาจรัฐจากส่วนกลางกรุงเทพฯ ก็ต้องใช้การสร้างการยินยอมยอมรับในระดับอุดมการณ์กล่าวคือ นอกจากใช้กลไกรัฐแบบรุนแรงบังคับด้วยกฎหมายแล้ว ชนชั้นนาไทยขณะนั้นยังต้องใช้โครงสร้างส่วนบนของสังคมคือ การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม เข้าไปอบรม กล่อมเกลา ปลูกฝัง ชนชั้นผู้ถูกปกครอง กลไกดังกล่าวทาหน้าที่สร้างคุณค่าความเป็นชาติ สร้างอัตลักษณ์ร่วมกัน และทาลายอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่หลากหลายเป็นอุปสรรคต่อการปกครอง สร้างความเป็นหนึ่งเดียว ผ่านวาทกรรมอุดมการณ์ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์นิยมเป็นต้น ดังกล่าวมาก็เป็นภาพการเคลื่อนไหวการใช้อานาจของชนชั้นปกครองไทยในอดีตที่ต้องสร้างการยินยอมยอมรับ ควบคู่ไปกับการใช้ความรุนแรงและกลไกการบังคับทางกฏหมาย


จะเห็นได้ว่า การเมืองเชิงอุดมการณ์เช่นนี้ สะท้อนให้เห็นภาพการเคลื่อนไหวทางอานาจได้ดียิ่งขึ้นในการเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าลองอธิบายการเมืองที่สาคัญเช่น ในประเทศพม่าเราจะพบว่า ชนชั้นปกครองของพม่าใช้กลไกการบังคับ (Coercion) ต่อประชาสังคม มากกว่าการสร้างการยินยอมยอมรับ (Consent) กล่าวคือ รัฐบาลทหารปกครองด้วยระบบทหาร ที่ไม่เปิดให้ผู้ที่เห็นต่างได้แสดงความคิดเห็นทางการเมือง เมื่อเกิดการต่อต้านจากประชาสังคมเอง กองทัพพม่าก็เข้ามาใช้ความรุนแรง จับกุมคุมขัง เรื่อยมา กล่าวได้ว่าสังคมการพม่าเป็นรูปแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ


ในสิงคโปร์เองก็มีความน่าสนใจภายใต้กรอบการศึกษาดังกล่าว สิงคโปร์ก็ถือได้ว่าเป็นสังคมที่ไม่ค่อยเสรีนักในทางการเมือง เช่นเดียวกับสังคมพม่าแต่มีความรุนแรงน้อยกว่า เพราะสิงคโปร์ใช้กลไกการบังคับ (Coercion) ผ่านกฏหมายที่มีความเข้มงวด จากัดสิทธิ เสรีภาพของพลเมืองอย่างมาก กฎหมายในสิงคโปร์มีโทษที่รุนแรงอย่างยิ่ง ประเด็นที่สาคัญจากแนวคิดนี้ในการเมืองสิงคโปร์ เราอาจนึกถึงช่วงการครองอานาจของ ลี กวน ยู ที่ใช้กาลังปราบปรามฝ่ายซ้ายอย่างรุนแรงเด็ดขาด และสร้างสร้างการครองความคิดจิตใจผ่านอุดมการณ์ ประชาคมนิยม(Communitarianism) ในสิงคโปร์ ปรัชญาสาคัญของอุดมการณ์ดังกล่าวคือการเน้น ส่วนรวม แทนปัจเจก ลี เสนอประชาธิปไตยคุณค่าแบบเอเชีย (Asian Values) เพราะลีมองว่าประชาธิปไตยเสรีเป็นแนวคิดแบบตะวันตกไม่เหมาะกับสังคมเอเชีย แนวคิดประชาสังคมเป็นอุดมการณ์ที่เชิดชูชาติเหนือชุมชน,ปัจเจก สถาบันครอบครัวคือรากฐานของสังคม เน้นความเป็นเอกฉันท์มากกว่า การถกเถียง แข่งขัน เน้นความสามัคคี และเรียกร้องการเสียสละเพื่อชาติของพลเมือง


ในอินโดนีเซียหรือฟิลิปปินส์มีความน่าสนใจในแง่ที่ว่า การสร้างการยินยอมยอมรับในช่วงหลังอาณานิคนนั้นมีลักษณะสาคัญ งานของ Ben Anderson นาเสนอภาพพลวัตรจินตนาการการสร้างชาติผ่านการใช้ภาษา โดยใช้ภาษากลางเป็นสื่อในการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นชาติผ่านระบบการศึกษาสมัยใหม่ที่เน้นความเสมอภาค อีกประเด็นที่สาคัญจากการศึกษาการเมืองเชิงอุดมการณ์ภายใต้กรอบคิดแบบกรัมชี่ คือ แนวคิดลัทธิปัญจศีลา เป็นต้น แนวคิดดังกล่าวต้องการโน้มนาให้ประชาสังคมอินโดนีเซียเห็นความสาคัญของชาติและความมั่นคง


นอกจากนั้นในลาวเองก็พบว่าชนชั้นปกครองของลาวใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องมือสาคัญในการสร้างการครองความคิดจิตใจ ต่อชนชั้นผู้ถูกปกครอง เช่นเดียวกับไทยและเขมร ที่เน้นใช้อุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือในการสร้างการครองความคิดจิตใจประชาชนเช่นกัน


โดยสรุปนั้นเราจะพบว่า วาทกรรมต่างๆของชนชั้นปกครองประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดังที่ได้ยกตัวอย่างไปบ้างนั้น ชนชั้นปกครองมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะควบคุมมีอานาจเหนือประชาชน การมีอานาจเหนือดังกล่าวกระทาผ่านการใช้การเน้นความรุนแรงที่ชัดเจนเช่นในชนชั้นปกครองในพม่า และด้วยการเน้นการสร้างความชอบธรรม ยินยอมยอมรับ ศรัทธา ในหมู่ประชาชน ที่ชัดเจนมากคือชนชั้นปกครองในไทย


ประชาสังคมกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองการเมือง : การต่อต้านต่ออานาจการครองความคิด/จิตใจ ประชาสังคม (Civil Society)ในที่นี้หมายถึงพื้นที่ไม่ใช่รัฐ/นอกภาครัฐทั้งหมด อาจกล่าวอย่างคล่าวๆได้ว่าเป็นพื้นที่ทางการเมืองและสังคมของภาคเอกชนก็ได้ ประชาสังคมคือพื้นที่ทางการเมืองแบบอุดมการณ์ พื้นที่ทางการเมืองของการต่อสู้ทางคุณค่า ความหมาย ปรัชญาและแนวคิด ผู้สร้างการครองความคิด (Hegemon) ใดๆก็ตาม หากต้องการสร้างอานาจการครองความคิดจิตใจอย่างสมบูรณ์ (Complete Hegemony) แก่ชนชั้นผู้ถูกปกครองจาเป็นต้องทาสงครามช่วงชิงพื้นที่ทางความคิดผ่านการสร้างการยินยอม/ยอมรับในพื้นที่ประชาสังคมดังกล่าว มิฉะนั้นการสร้างอานาจการครองความคิดก็ไม่สมบูรณ์และสุ่มเสี่ยงต่อการถูกต่อต้านอีกด้วย ดังนั้นการยึดครองพื้นที่ประชาสังคมนั่นเอง ที่ทาให้ชนชั้นปกครองสามารถสร้างการครองความคิดได้อย่างสมบูรณ์อย่างแท้จริง


แต่ใช่ว่ากลุ่มก้อนทางอานาจ (Power Bloc) ต่างๆจะสามารถสร้างอานาจการครองความคิดจิตใจได้โดยสดุดีเสมอไป เพราะอาจจะมีการต่อต้านจากกลุ่มก้อนทางอานาจใหม่ ที่มีชุดทางอุดมการณ์อีกแบบที่ขัดแย้ง/สวนทางกัน เข้ามาทาสงครามช่วงชิงพื้นที่ทางความคิดแข่งกับกลุ่มก้อนทางอานาจเดิมก็เป็นได้ นี่คือการเมืองที่เกิดขึ้นในภาคประชาสังคม การต่อต้านต่ออานาจการครองความคิดจิตใจ อาจเกิดขึ้นในรูปของขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองอื่นๆ ที่มีการต่อสู้ทางการช่วงชิงความคิดและสงครามช่วงชิงพื้นที่ด้วยดังเช่นกรณีพรรคคอมมิวนิสต์หรือกลุ่มกบฎแบ่งแยกดินแดนเป็นต้น


ในการเมืองไทยพบว่ากลุ่มการเมืองอย่างกลุ่มคนเสื้อแดงก็ถือเป็นกลุ่มก้อนทางอานาจใหม่ที่ต่อต้านต่อกลุ่มก้อนทางอานาจเดิมที่ครองความคิดจิตใจชนชั้นผู้ถูกปกครองผ่านอุดมการณ์ชาตินิยม ศาสนา และพระมหากษัตริย์ กลุ่มคนเสื้อแดงมีชุดทางความคิดเรื่องชาติแบบใหม่ มีเป้าหมายทางการเมืองที่ท้าทายและต่อต้านแบบแผนอานาจครอบงาแบบเดิมที่ชนชั้นปกครองไทยใช้กล่อมเกลาปลุกฝังพลเมืองไทยแต่เดิมมา


ในฟิลิปปินส์พบว่า การต่อสู้ของภาคประชาสังคมทางการเมืองที่ขับไล่ชนชั้นนาฟิลิปปินส์มีความเข้มแข็งมาก แต่พบว่าชนชั้นนาเผด็จการดังกล่าวไม่มีความสามารถมากในการครองความคิดจิตใจพลเมือง เช่นเผด็จการมาร์กอส ที่ใช้กลไกการบังคับคือการประกาศกฎอัยการศึกสร้างความชอบธรรมทางการเมืองมากกว่าการสร้างการครองความคิดจิตใจ ดังนั้นเผด็จการมาร์กอสจึงถูกปลดออกอย่างง่ายดาย นอกจากการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมเพื่อต่อต้านอานาจเผด็จการ การเมืองฟิลิปปินส์ยังมีการเคลื่อนของขบวนการต่อต้านอานาจการครองความคิดจิตใจอีกมาก เช่นพรรคคอมมิวนิสต์ ที่ต่อต้านวาทกรรมการพัฒนาภายใต้ระบอบทุนนิยมของรัฐ โดยการจับอาวะขึ้นสู้ ทาสงครามช่วงชิงพื้นที่ (War of movement) กับรัฐบาลเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนที่เชื่อมโยงกับศาสนา ที่ต้องการต่อต้านต่อการครองความคิดในประเด็นทางวัฒนธรรมและอุดมการณ์สังคมจากรัฐ โดยเรียกร้องการแบ่งแยกดินแดน แต่ทั้งสองขบวนการก็ถูกรัฐฟิลิปปินส์ใช้ความรุนแรงบังคับ(Coercion)ทั้งสิ้น


ในสิงคโปร์จะพบว่าประชาชนทาการต่อต้านต่อการควบคุมที่เข้มงวดของกฎหมายสิงคโปร์ที่เข้าบงการชีวิตพลเมืองสิงคโปร์อย่างละเอียดซับซ้อนมาก การต่อต้านมักเกิดขึ้นในระดับชีวิตประจาวัน เช่นการต่อต้านต่อกฎหมายรักษาความสะอาด เมื่อพ้นจากสายตาคน คนสิงคโปร์อาจจะคายหมากฝรั่ง ก้นบุหรี่ ทิ้งขยะตามถนน ถ่มน้าลาย หรือแม้กระทั่งการปัสสาวะในลิฟท์โดยสารเป็นต้น เพื่อประท้วงต่อความเข้มงวดทางสังคมซึ่งเป็นเป้าหมายหลักทางการปกครองของชนชั้นปกครองสิงคโปร์ที่ต้องการให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีระเบียบวินัย


การเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับการทาความเข้าใจสังคมการเมืองไทย การศึกษาสังคมไทยนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับภาพรวมทางการเมืองการปกครองของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่า ผู้เขียนเห็นว่ากรอบการอธิบายความชอบธรรมทางอานาจของ Max Weber เป็นแนวทางการอธิบายที่ยังมีประโยชน์อยู่มาก เพราะอันที่จริงแล้วถ้าเราเอาหลักการเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ของระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยมาศึกษาเปรียบเทียบประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เราจะพบความบกพร่อง ความไม่ลงรอย อยู่หลายประการและแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ประชาธิปไตยของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงมีลักษณะผิดรูปร่าง หรือมีความพิเศษที่แตกต่างจากดินแดนอื่นอยู่มาก การทาความเข้าใจการเมือง สังคม และเศรษฐกิจในดินแดนดังกล่าวจึงต้องมองภาพรวมทั้งมิติทางสังคม มนุษย์ วัฒนธรรม จารีตประเพณี อุดมการณ์ ฯลฯ ในแต่ละประเทศอย่างเข้าใจ จึงจะพบว่ากระบวนการเป็นประชาธิปไตยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นไม่บรรลุตามเป้าหมายเสียที


ประโยชน์จากการศึกษารัฐในแบบของ Weber คือการมองรัฐในแบบ Patrimonial ที่มีพื้นฐานสิทธิอานาจมาจากความชอบธรรมบนพื้นฐานของประเพณี รัฐแบบครอบครัวเน้นการอุปถัมภ์และมีเครือข่ายการเมืองแบบอิทธิพล รัฐแบบดังกล่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสองแบบ คือแบบอามาตย์ เช่นอามาตยาธิปไตยในไทย ที่สังคมการเมืองถูกครอบงาด้วยระบบราชการ ชนชั้นอามาตย์ กับแบบกลุ่มอิทธิพล เช่นในฟิลิปปินส์ ที่กลุ่มอิทธิพลนอกภาครัฐเป็นใหญ่ ผู้เขียนกล่าวถึงรัฐแบบปิตาธิปไตยในฟิลิปปินส์มามาก การเมืองแบบปิตาธิปไตยนั้นอาจเปรียบเทียบได้กับยุครัฐบาลทักษิณ ดารงอานาจทางการเมืองไว้ได้ด้วยการประสานเชื่อมโยงทางอานาจกับผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นอย่างเห็นได้ชัด แต่เราไม่สามารถบอกได้ว่าการเมืองไทยช่วงนั้นเป็นปิตาธิปไตยเช่นฟิลิปปินส์ได้ แม้จะมีลักษณะทางอานาจคล้ายคลึงกัน แต่เมื่อมาเปรียบเทียบทาการศึกษารัฐไทย ซึ่งต้องมองภาพโดยองค์รวมทั้งระบบ เราจะพบภาพสัมพันธภาพทางอานาจแบบอามาตยาธิปไตยที่ครอบงาสังคมการเมืองไทยมาอย่างช้านาน ยิ่งในบริบททางการเมืองหลังรัฐประหารปี 2549 นั้นอานาจแบบอามาตยาธิปไตยได้แสดงพลังทางการเมืองที่ต้องการแทรกแซงสังคมการเมืองไทยออกมาอย่างชัดเจน ภายใต้การยึดโยงและโน้มนาเอาวาทกรรมทางการเมืองที่แนบชิดกับสถาบัน


กษัตริย์เข้ามาเป็นเครื่องมือทางการเมือง เช่นในการกาจัดฝ่ายตรงข้าม จากัดการเรียกร้อง การประท้วง สนับสนุนนโยบายรัฐทั้งทางด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และการพัฒนาอื่นๆ ดังนั้นการศึกษารัฐไทยและการตอบคาถามลักษณะทางอานาจจึงสามารถทาความเข้าใจได้ดีส่วนหนึ่งจากมุมมองแบบ Weber นั่นเอง


ต่อจากแนวคิดของ Weber งานศึกษาสังคมการเมืองไทยที่น่าสนใจ คืองานของ Riggs ในปี 1966 ริกส์เสนอแนวคิดอามาตยาธิปไตยหรือรัฐข้าราชการในการเมืองไทย ริกส์เห็นว่าระบบการเมืองไทยนั้นระบบราชการยังมีอิทธิพลและมีบทบาทที่สาคัญอย่างยิ่งต่อกิจกรรมทางการเมือง แนวคิดดังกล่าวมองว่าอานาจต่างๆถูกกักไว้ภายในทหารและระบบราชการพลเรือน ขณะที่สถาบันอื่นๆในรัฐเช่น รัฐสภา พรรคการเมือง ศาล หรือที่อยู่นอกรัฐเช่นในประชาสังคมนั้นมีลักษณะที่อ่อนแอ ดังนั้นการตัดสินใจใดๆในทางการเมืองและการนานโยบายไปปฎิบัติจึงเป็นอานาจของข้าราชการเท่านั้น แม้ว่าระบบราชการจะมีบางส่วนที่ทันสมัย แต่การแบ่งงานกันทาตามโครงสร้างหน้าที่แบบสังคมสมัยใหม่ยังบกพร่องอยู่มากทาให้ระบบทางการเมืองของสังคมไทยเป็นสังคมแบบปริซึมที่มีอานาจหน้าที่ชัดเจนแบบสมัยใหม่แต่ด้อยประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่ารัฐและสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นไม่ใช่รัฐและสังคมตามจารีตแบบเก่า แต่ก็ไม่ใช่รัฐและสังคมตามจารีตแบบใหม่


แนวคิดการอธิบายระบบการเมืองและลักษณะการใช้อานาจดังกล่าวมานั้นก็สามารถอธิบายและทาความเข้าใจสังคมการเมืองไทยได้อย่างชัดเจนส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะคาตอบของงานการศึกษาดังกล่าวเช่นจากกงานของริกส์ที่ได้ศึกษาอานาจแบบอามาตยาธิปไตยนั้น ได้ปรากฏชัดเจนอย่างมากในการเมืองไทยปัจจุบันช่วงนับตั้งแต่หลังรัฐประหารเป็นต้นมา แต่ยังขาดการเชื่อมโยงและทาความเข้าใจการเมืองเข้ากับเรื่องเศรษฐกิจ


ในเรื่องเศรษฐกิจนั้น เราจะพบว่าเศรษฐกิจการเมืองแบบทุนนิยมของรัฐไทยนั้นค่อนข้างเสรี เมื่อเราเปรียบเทียบกับแนวคิดทุนนิยมเทียมของศาสตราจารย์คุนิโอะ เพราะรัฐไทยไม่มีการกีดกันเรื่องเชื้อชาติแบบในอดีต การแทรกแซงของรัฐยังมีอยู่แต่นับว่ามีการตรวจสอบและการกาหนดอานาจการแทรกแซงที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อประสิทธิภาพของตลาดมากเช่นในอดีต ในเรื่องเทคโนโลยีนั้นก็ค่อนข้างทันสมัยพอสมควรถ้าไปดูภาคการผลิตในปัจจุบัน นั่นคือแนวคิดรูปธรรมทางเศรษฐกิจที่น่าจะเป็น ปัญหาเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันถ้ามองจากแนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบคลาสสิค คือปัญหาทางการเมืองและการผูกขาดทางการค้าที่เกี่ยวพันกับนักการเมือง อันเนื่องมาจากระบบการเมืองไทยไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลทางานได้อย่างไม่เต็มที่หรือไม่มีประสิทธิภาพ การเมืองถูกแทรกแซงโดยกองทัพและข้าราชาการที่เข้ามาพัวพันทางด้านเศรษฐกิจเข้าจนได้ เช่นกรณี ธุรกิจสื่อ เป็นต้น ดังนั้นถ้าจะบอกว่าทุนนิยมของไทยยัง “เทียม” อยู่ก็คงไม่ผิด เพียงแค่มีความสมจริงเพิ่มขึ้นมากกว่าอดีตเท่านั้นเอง เศรษฐศาสตร์การเมืองแนวเสรีนิยมจึงมองปัญหาเศรษฐกิจในสังคมไทยว่าเกิดจากความบกพร่องของรัฐ ความล้มเหลวด้านการเมือง การบริหารของรัฐ


แต่สาหรับเศรษฐศาสตร์การเมืองแนวมาร์กซิสนั้น มองปัญหาทางเศรษฐกิจ วิกฤติเศรษฐกิจการเงินที่เกิดขึ้นในรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าเกิดจากกลไกตลาดเอง ซึ่งไร้ประสิทธิภาพด้วยการทางานของตัวมันเอง เพราะทุนนิยมมีจุดร่วมของปัญหาที่ต้องประสบอย่างแน่นอนคือ แนวโน้มการลดลงของกาไร การผลิตเกินกาลังซื้อในตลาด โดยสรุปความล้อมเหลวของตลาดนี่เองที่เป็นต้นเหตุให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชียและไทยในปี 2540


ประเด็นเรื่องทหารนั้น เราจะพบว่าการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในพม่า ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ยังวนเวียนอยู่กับเรื่องทหาร โดยเฉพาะสองประเทศแรก คือพม่ากับไทย ส่วนฟิลิปปินส์นั้น ทหารไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวทางการเมืองอย่างค่อนข้างจะแน่นอน ในพม่านั้นแทบจะพูดได้ว่าคงไม่มีโอกาสที่รัฐบาลพลเรือนจะเข้ามามีอานาจบริหารประเทศ เพราะรัฐบาลทหารพม่าได้ครอบงาการเมืองพม่ามาเป็นเวลานานและใช้ความรุนแรงในการปกครองประเทศยากที่ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยจะมีอานาจทางการเมือง ในไทยนั้น แทบไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดการรัฐประหารโดยทหารในปี 2549 แม้ทหารจะยอมลงจากอานาจ แต่ก็ได้ออกแบบโครงสร้างและสถาบันการเมืองไว้ รวมทั้งยังการวิพากษ์วิจารณ์กันชนว่าทหารมีบทบาทแทรกแซงทางการเมืองเบื้องหลังจนกระทั่งปัจจุบัน ทหารในสังคมไทยเป็นกลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่ยิ่งใหญ่มาก ทั้งทางอานาจและงบประมาณ ทั้งยังใช้สถาบันกษัตริย์เป็นเป็นอุดมการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองอีกด้วย


ประเด็นอุดมการณ์ชาตินิยมไทยต่อประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั้นเราจะพบว่ารัฐไทยในอดีตปลูกฝัง,ครอบงาทางความคิดในการมองประเทศเพื่อบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยทัศนคติแบบชาตินิยมอย่างมาก ตัวอย่างเช่นในแบบเรียนไทย รัฐไทยในอดีตสร้างจิตสานึกชาตินิยม อุดมการณ์แบบอนุรักษ์นิยม มีการสืบทอดอุดมการณ์ดังกล่าวผ่านสื่อแบบเรียนที่เป็นกลไกรัฐ อุดมการณ์ชาตินิยมกระแสหลักจึงได้ครอบงาทัศนคติของคนไทยและสร้างอคติที่แฝงเร้นอยู่ในการนาเสนอเรื่องราวของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในแบบเรียนไทย ที่ค่อนข้างลบหลู่ หรือมองประวัติศาสตร์เพื่อนบ้านในแง่ลบมากกว่า หรือมองประวัติศาสตร์ชาติไทยอย่างเหนือกว่าเพื่อนบ้าน จะเห็นได้ว่าการเคลื่อนไหวชาตินิยมในสังคมไทยปัจจุบันจึงยิ่งดูไร้เหตุผลมากขึ้นทุกที เพราะอุดมการณ์ชาตินิยมกระแสหลักเริ่มถูกต้านทาน/ต่อต้านเรื่อยมา


ศาสนา ในเรื่องศาสนานั้น ในฟิลิปปินส์นั้นศาสนาคริสเข้ามาพร้อมกับการเป็นอาณานิคมโดยช่วงแรกๆมีบทบาทในการครอบงาบรรทัดฐาน กาหนดกฎระเบียบของสังคม อย่างมาก ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาเพิ่งจะถูกแยกบทบาททางอานาจอย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญปี 1935 ในลาว ฝ่ายซ้ายใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการต่อสู้โดยนาพระสงฆ์มาเป็นแนวร่วม ในขณะที่ฝ่ายขวาและรัฐบาลกษัตริย์ไม่สามารถใช้ศาสนาต่อสุ้ทางการเมืองกับฝ่ายซ้ายได้ ซึ่งต่างกับไทย เพราะชนชั้นนาไทยเช่นสถาบันกษัตริย์ไทยสามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมและตีความศาสนาใหม่เป็นเครื่องมือทางการเมืองของฝ่ายขวาไทย เป็นหนึ่งในอุดมการณ์ชาตินิยม ใช้จัดการกับศัตรูทางการเมืองอย่างได้ผล เช่นกรณี 6 ตุลา หรือการสร้างวาทกรรมทศพิธราชธรรม กษัตริย์ธรรมราชา เป็นต้น


ในประเด็นเรื่องสถาบันกษัตริย์นั้น ถ้าจะเปรียบเทียบกับบรูไนนั้น เราจะพบว่ากษัตริย์บรูไนมีความชัดเจนในการลงมาปกครองประเทศภายใต้ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ปฎิเสธประชาธิปไตยและเสรีภาพ แต่มีการจัดการทางด้านเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง ประชาชนบรูไนได้รับสวัสดิการสังคมอย่างดี ขณะที่สถาบันกษัตริย์ไทยมีสถานะที่อยู่เหนือการเมือง แต่มีบทบาทเชิงสัญลักษณ์ในการสนับสนุนการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับคนเสื้อแดงซึ่งเรียกร้องระบอบการเลือกตั้งเสรี รวมทั้งยังมีการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพื่อจากัดการถกเถียง พูดคุยเรื่องสถานะและอานาจของสถาบันกษัตริย์อย่างเสรี ขณะที่กลุ่มอามาตย์ทางการเมืองอย่างองคมนตรี ทหาร ราชาการ นักการเมืองฝ่ายขวา ได้นาเอาสถาบันกษัตริย์มาเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองและใช้เป็นข้ออ้างในการจัดการทางการเมืองของตน ล้มรัฐบาลจาการเลือกตั้งในระบบเสรีประชาธิปไตย จนเกิดการต่อสู้ในประเด็นดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน
บรรณานุกรม
  • ใจ อึ้งภากรณ์, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : ข้อถกเถียงทางการเมือง, [ม.ป.ท] 2552,
  • ดวงสุดา ศรียงค์, ฐานทัพกับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและฟิลิปปินส์ (1965-1984), วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
  • นิยม รัฐอมฤต, การปกครองประชาธิปไตยนานาประเทศ, กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2553
  • ยงยุทธ อิสรชัย,บทบาทภาครัฐกับการพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองไทย, ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเศรษฐกิจกับการเมืองไทย, พิมพ์ครั้งที่4, สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่8-15, 2552
  • โยะชิฮะระ คุนิโอะ, ชาติและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ฟิลิปปินส์และไทย, กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2541
  • โยะชิฮะระ คุนิโอะ เขียน, รัศมิ์ดารา ขันติกุล และคณะ แปล, กาเนิดทุนนิยมเทียมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้,พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2544
  • วารุณี โอสถารมย์, แบบเรียนไทยกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “เพื่อนบ้านของเรา” ภาพสะท้อนเจตนคติอุดมการณ์ชาตินิยมไทย, ใน รัฐศาสตร์สาร, ปีที่22 ฉบับที่3 2544
  • วุฒิกรณ์ ชูวัฒนานุรักษ์, การก่อการร้ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคหลังสงครามเย็น: วิเคราะห์แนวคิด การก่อการร้าย และขบวนการก่อการร้ายในไทยและฟิลิปปินส์, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
  • วิทยา สุจริตธนารักษ์,การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองอินโดนีเซีย, กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ,2542
  • สีดา สอนศรี, ฟิลิปปินส์: จากอดีตสู่ปัจจุบัน(ค.ศ.1986-2006),กรุงเทพฯ: โครงการตาราและสิ่งพิมพ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2550
  • อนุสรณ์ ลิ่มมณี, ทฤษฏีเศรษฐกิจการเมืองยุคปัจจุบัน, กรุงเทพ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคาแหง,2545
  • เอลชา ไชนุดิน เขียน, เพ็ญศรี สุมิตร แปล, ประวัติศาสตร์อินโอนีเซีย A Short History of Indonesia,พิมพ์ครั้งที่2, กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตาราทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,2552
  • โฮเซ ริซัล เขียน, จิตรภรณ์ ตันรัตนกุล แปล, อันล่วงละเมิดมิได้, กรุงเทพ: มูลนิธิโครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2548

    หนังสือภาษาอังกฤษ
  • Damien Kingsbury, South-East Asia A Political Prafile, South Melbourme: Oxford University Press, 2005.
  • David Foegacs , ed. A Gramsci Reader Selected Writings 1916-1935. London: Lawrence and Wishart,1988
  • David Harvey, The New Imperialism,UK: Oxford University Press 2003
  • Eva-Lotta E. Hedman, In the Name of Civil Society from Free Election Movement to People Power in Philippines, Honolulu: University of Hawai’I Press, 2006
  • Fred Warren Riggs, Thailand : The Modernization of a Bureaucratic Polity, Honolulu : East-West Center, 1966
  • Grace Jamon, Mary G. Mirandilla, Religion and Politics, in Rodolfo C. Severino, ed, Whither the Philippines in the 21st Century?, Singapore : Insitute of Southeast Asian Studies,2007
  • John Funton, ed. Government and Politics in Southeast Asia, Singapore : Insitute of Southeast Asian Studies , 2001
  • Kieran Allen, Max Weber A Critical Introduction, London: Pluto Press, 2004
  • Raul P. De Guzman and Mila A. Reforma, Government and Politics of the Philippines, New York: Oxford University Press, 1988
  • Tom Bottomore ed. A Dictionary of Marxist Thought.Oxford:Blackwell Publishers.1991.
  • William Case, Politics in Sourtheast Asia : Democratic or Less, Richmond Surrey : Curzon Press,2002

    เว็บไซด์
  • นักวิชาการชี้รัฐบาลฟิลิปปินส์หล่อเลี้ยงด้วยสายสัมพันธ์ทางอานาจกับอิทธิพลท้องถิ่น” http://prachatai3.info/journal/2009/12/26821


ลักษณะภูมิประเทศ 
เป็นหมู่เกาะของเทือกเขาหินใหม่ พื้นที่ทุกเกาะมีภูเขาเป็นแกนกลาง มีที่ราบอยู่น้อย เป็นที่ราบแคบ ๆ ที่ราบสำคัญ คือ ที่ราบตอนกลางของเกาะลูซอน เรียกว่า ที่ราบมะนิลา เป็นที่ราบที่ใหญ่ที่สุด
ลักษณะภูมิอากาศ 
มรสุมเขตร้อน ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดูได้รับฝนจากลมพายุไต้ฝุ่น และดีเปรสชัน บริเวณที่ฝนตกมากที่สุด คือ เมืองบาเกียว เป็นเมืองที่ฝนตกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เศรษฐกิจและสังคม
                ๒.๑ รัฐบาลจะลงทุนอย่างต่อเนื่องในโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา สาธารณสุข การสร้างงาน รวมทั้งมีเป้าหมายที่จะให้มีงบประมาณสมดุลในปี ๒๕๕๑ ในปี ๒๕๔๙ เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ขยายตัวร้อยละ ๕.๔ และมีแนวโน้มที่ดีทั้งในตลาดหุ้น การส่งออก การลงทุน การจ้างงาน และความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลยืนยัน
                ๒.๒ แผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจใหม่ของฟิลิปปินส์ตามถ้อยแถลงของประธานาธิบดีอาร์โรโย เมื่อ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ จะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการแบ่งเขตที่จะพัฒนาออกเป็น ๕ เขต (Mega Regions) คือ ลูซอนเหนือ เมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์กลาง มินดาเนา และไซเบอร์ คอร์ริดอร์ เพื่อให้สามารถทุ่มงบประมาณเข้าไปพัฒนาพื้นที่หลักทางเศรษฐกิจตรงเป้าหมายและครอบคลุม รวมทั้งเป็นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์พยายามลดเงื่อนไขที่จะเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจในฟิลิปปินส์ เพื่อกระตุ้นการลงทุนและการค้า โดยเฉพาะด้าน การท่องเที่ยวและการส่งออก
                ๒.๓ ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจฟิลิปปินส์คือ แรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศส่งเงินกลับประเทศเพิ่มขึ้น เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและเงินทุนสำรองต่างประเทศเพิ่มขึ้น การส่งออกและธุรกิจภาคบริการขยายตัว และอัตราเงินเฟ้อลดลง ส่วนปัจจัยด้านลบ ได้แก่ ปัญหาจากภัยก่อการร้าย ซึ่งกดดันบรรยากาศการลงทุนของประเทศ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างสหรัฐฯ และจีน ที่คาดว่าจะส่งผลให้สินค้าส่งออกของฟิลิปปินส์ไปประเทศเหล่านี้ชะลอตัว ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง และมาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers : NTBs) ในรูปแบบต่างๆ                 ๒.๔ ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของฟิลิปปินส์ ได้แก่ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน ปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมือง และอุปสรรคจากความล่าช้าของขั้นตอนการดำเนินงานภาครัฐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อบรรยากาศด้านการลงทุนและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการกระจายรายได้และการปฏิรูปที่ดินที่ล่าช้า ทำให้พื้นที่การเกษตรโดยเฉลี่ยลดลง
๓. นโยบายต่างประเทศ                 ในด้านความมั่นคง รัฐบาลฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศต่าง ๆ ในทุกภูมิภาค โดยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน การหารือทางการเมือง การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมในด้านต่าง ๆ การลงนามความตกลงทวิภาคี รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ทางทหารและความมั่นคงกับประเทศต่าง ๆ อาทิ สหรัฐฯ และประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการแลกเปลี่ยนการฝึกร่วมทางทหารทั้งในระดับทวิภาคี (กับสหรัฐฯ) อาทิ Balikatan และระดับพหุภาคี (กับสหรัฐฯ ไทย และประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศ) อาทิ Cooperation Afloat Readiness and Training (CARAT) Cobra Gold และTeam Challenge                 ฟิลิปปินส์ส่งเสริมความร่วมมือในระดับภูมิภาคและพหุภาคี โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมอย่าง แข็งขันในกรอบความร่วมมือและเวทีระหว่างประเทศต่าง ๆ อาทิ อาเซียน กรอบความร่วมมือของเอเชียตะวันออก-ละตินอเมริกา (Forum for East Asia-Latin America Cooperation – FEALAC ซึ่งฟิลิปปินส์ ได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับรัฐมนตรี FEALAC เมื่อวันที่ ๓๐ – ๓๑ มกราคม ๒๕๔๗) การประชุม Pacific Islands Forum และการประชุมต่าง ๆ ขององค์การสหประชาชาติ ฟิลิปปินส์มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและมีลักษณะพิเศษกับสหรัฐฯ เนื่องจากความเกี่ยวพัน ทางประวัติศาสตร์ แม้ว่าในปัจจุบันฟิลิปปินส์จะดำเนินนโยบายต่างประเทศกับสหรัฐฯ ในลักษณะสองทิศทาง คือ พยายามเป็นอิสระ (โดยยกเลิกการให้สหรัฐฯ ใช้ฐานทัพเรือที่อ่าวซูบิก (Subic)และฐานทัพอากาศคลาร์ก (Clark) แต่ก็ยังคงเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้ฐานทัพฟิลิปปินส์ของกองทัพสหรัฐฯ (Visiting Force Agreement – VFA) เมื่อปี ๒๕๔๑                 ในระหว่างการเยือนสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ ๑๗ – ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖ รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการสนับสนุนการปฏิบัติการ ตอบโต้การก่อการร้ายและสงครามในอิรักของสหรัฐฯ ซึ่งสหรัฐฯ ได้ตอบแทนด้วยการให้ความช่วยเหลือ ทั้งด้านการทหารและเศรษฐกิจ เช่น สนับสนุนเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมทางทหารแก่ฟิลิปปินส์ ภายใต้งบประมาณจำนวน ๙๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายในฟิลิปปินส์ ลดอัตราค่าธรรมเนียมการส่งเงินจากสหรัฐฯ ไปฟิลิปปินส์ เพื่อช่วยให้ชาวฟิลิปปินส์ในสหรัฐฯ เสียค่าใช้จ่ายในการส่งเงินกลับประเทศน้อยลง นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังประกาศยกเว้นภาษีศุลกากรนำเข้าสินค้าบางประเภทจากฟิลิปปินส์ และเพิ่มสวัสดิการความช่วยเหลือแก่ทหารผ่านศึกในสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ซึ่งเป็นชาวฟิลิปปินส์ที่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ                 ในส่วนของการทูตเพื่อการพัฒนาประเทศนั้น รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ดำเนินการโดย
                (๑) การส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ทั้งในระดับทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี อาทิ ในกรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน กรอบความร่วมมือ Brunei-Indonesia-Malaysia-Philippines-East ASEAN Growth Area (BIMP-EAGA) กรอบ Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) การประชุมเอเชีย-ยุโรป (ASEM) องค์การการค้าโลก และสหประชาชาติ
                (๒) การส่งเสริมโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับประเทศต่าง ๆ อาทิ ญี่ปุ่น สวีเดน เยอรมนี สาธารณรัฐเช็ก และคณะกรรมาธิการยุโรป 
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ความสัมพันธ์ทั่วไป                 การทูต
                ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๔๙๒ เอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลาคนปัจจุบันคือ นางอัชฌา ทวีติยานนท์ และมีหน่วยงานในสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้แก่ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร และสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ                  การเมือง                 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ดำเนินไปอย่างราบรื่นและใกล้ชิดมานาน ฟิลิปปินส์เป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตด้วย และเป็นประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนเช่นเดียวกับไทย และเป็นแนวร่วมของไทยในเวทีระหว่างประเทศ เนื่องจากมีทัศนคติและแนวคิดคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ทั้งสองฝ่ายมีกลไกส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคี ได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ (Joint Commission – JC) ตั้งเมื่อปี ๒๕๓๖ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม (ประชุมครั้งที่ ๑ ที่กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ ๑ - ๔ มีนาคม ๒๕๓๗ ครั้งที่ ๒ ที่ภูเก็ต เมื่อวันที่ ๒๗ - ๒๙ เมษายน ๒๕๔๐ ครั้งที่ ๓ ที่กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ ๑๐ - ๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๒ และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม JC ครั้งที่ ๔ ในวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐)
                สำหรับท่าทีของฝ่ายฟิลิปปินส์ต่อสถานการณ์การเมืองของไทยนั้น ประธานาธิบดีอาร์โรโยกล่าวว่า ฟิลิปปินส์ร่วมกับประชาคมโลกเรียกร้องให้มีการปฏิบัติตามหลักนิติรัฐ (the rule of law) และกลับคืนสู่ประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุด และในฐานะเพื่อนบ้านและพันธมิตรอาเซียน ฟิลิปปินส์อยู่เคียงข้าง ประชาชนชาวไทยในการแสวงหาและนำมาซึ่งสันติภาพและความเป็นเอกภาพภายในประเทศ และมองว่าเป็นการดีที่เหตุการณ์ทางการเมืองในไทยที่ผ่านมาไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียเลือดเนื้อของประชาชน และโฆษกทำเนียบประธานาธิบดีได้ออกแถลงการณ์ว่า ฟิลิปปินส์รู้สึกคลายความกังวลที่สถานการณ์ทาง การเมืองในไทยได้คลี่คลายลง และสถานที่ราชการและธุรกิจต่างๆ ได้เปิดทำการดังเดิม ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ปรารถนาที่จะเห็นสันติภาพและความสามัคคีเกิดขึ้นในสังคมไทย ในขณะที่คาดว่าจะมีการฟื้นฟูกระบวนการประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ขึ้นโดยเร็วที่สุด โดยไทยยังเป็นพันธมิตรที่สำคัญของฟิลิปปินส์ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ ความมั่นคง การต่อต้านการก่อการร้าย และการแก้ไขปัญหาความยากจน หลังจากนั้น เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๔๙ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ                 ๑.๓ ความมั่นคง
                ไทยกับฟิลิปปินส์มีความร่วมมือด้านการทหารอย่างใกล้ชิด อาทิ การจัดส่งนักเรียนนายร้อย ของไทยเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยฟิลิปปินส์ การแลกเปลี่ยนนายทหารเข้าอบรมในหลักสูตรเสนาธิการ ทหาร การแลกเปลี่ยนการดูงานของนักศึกษาในหลักสูตรวิชาทหารต่าง ๆ การสัมมนาแลกเปลี่ยนข่าวกรองทางทหารระหว่างกัน และการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำเหล่าทัพ โดยฟิลิปปินส์ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การฝึกคอบร้าโกลด์ และได้เข้าร่วมการฝึก Command Post Exercise (CPX) ในปี ๒๕๔๗ ด้วย นอกจากนั้น รัฐบาลไทยได้มอบเครื่องบินโจมตีแบบ OV-๑๐ ซึ่งปลดประจำการแล้วของกองทัพอากาศตามคำขอของรัฐบาลฟิลิปปินส์ด้วย จำนวน ๘ ลำ ในปี ๒๕๔๖-๔๗                 เศรษฐกิจ                 การค้า                      การค้าระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ในปี ๒๕๔๙ มีมูลค่า ๔,๖๘๔.๔ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๔๘ ร้อยละ ๑๘.๘ ไทยส่งออกไปฟิลิปปินส์ ๒,๕๘๐.๓ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๕.๒ และนำเข้าจากฟิลิปปินส์ ๒,๑๐๔.๑ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๔.๕ ไทยได้เปรียบดุลการค้า ๔๗๖.๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐ                      การส่งออกสินค้าไปฟิลิปปินส์ในปี ๒๕๔๙ คิดเป็นร้อยละ ๒ ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทย สินค้าไทยมีส่วนแบ่งตลาดในฟิลิปปินส์ประมาณร้อยละ ๓.๕ สินค้าออกรายการสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เครื่องสำอาง เหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องรับโทรทัศน์ และกระดาษ                      สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากฟิลิปปินส์ ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบอุปกรณ์ยานพาหนะ รถยนต์นั่ง เครื่องจักรกล สินแร่โลหะและเศษโลหะ เครื่องมือทางการแพทย์ ยาสูบ สัตว์น้ำ เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก เป็นต้น แนวโน้มการส่งออกของไทยไปฟิลิปปินส์ในปี ๒๕๕๐ คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๘ มีมูลค่า ๓,๐๔๔.๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การส่งออกของไทยไปฟิลิปปินส์ขยายตัว คือ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์อย่างต่อเนื่อง การขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน เงินรายได้จากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ การลงทุนภาครัฐบาลในโครงการระบบสาธารณูปโภค สินค้าที่มีแนวโน้มการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป เคื่องสำอาง เภสัชภัณฑ์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
                ไทยกับฟิลิปปินส์ได้ลงนามความตกลงทางการค้าเมื่อปี ๒๕๔๒ และได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางด้านการค้า (Joint Trade Commission – JTC) ภายใต้ความตกลงดังกล่าว และทั้งจะพิจารณาจัดการประชุม JTC ครั้งที่ ๑ ต่อไป ภายในปี ๒๕๕๐                 รัฐบาลฟิลิปปินส์ปัจจุบันให้ความสนใจกับนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทย ดังจะเห็นได้จากการประกาศโครงการ “One Town, One Product, One Million Pesos” ซึ่งคล้ายคลึงกับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และกองทุนหมู่บ้านของไทย นอกจากนั้น ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ยังประกาศใช้นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อมโดยดูตัวอย่างจากไทยอีกด้วย
                การลงทุน                 บริษัทไทยที่ไปลงทุนในฟิลิปปินส์ ได้แก่ บมจ.ปตท. บมจ.ปูนซีเมนต์ไทย และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ส่วนฟิลิปปินส์มาลงทุนในไทยในระดับน่าพอใจ บริษัทฟิลิปปินส์ที่ลงทุนในไทย เช่น บริษัท Universal Robina บริษัท San Miguel และ Liwayway Food Industries                 การท่องเที่ยว
                ไทยและฟิลิปปินส์มีความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ลงนามเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๓๖ ในปี ๒๕๔๙ มีนักท่องเที่ยวชาวฟิลิปปินส์มาไทย ๑๙๘,๔๔๓ คน ในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว โดยให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บริหารระดับสูง การจัด Business Matching และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ อาทิ การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนที่สนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะขยายความร่วมมือทางการบินระหว่างกันและจะให้มีการเจรจาการบินภายในปี ๒๕๕๐                

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศฟิลิปปินส์

          วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์เป็นวัฒนธรรมผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากสเปน จีน และอเมริกัน ฟิลิปปินส์มีเทศกาลที่สำคัญ ได้แก่               
     


     *เทศกาลอาติ – อาติหาน (Ati - Atihan)
          จัดขึ้นเพื่อรำลึกและแสดงความเคารพต่อ “เอตาส (Aetas)” ชนเผ่าแรกที่มาตั้งรกรากอยู่บนเกาะแห่งหนึ่งในฟิลิปปินส์ และรำลึกถึงพระเยซูคริสต์ในวัยเด็ก โดยจะแต่งตัวเลียนแบบชนเผ่าเอตาส แล้วออกมารำรื่นเริงบนท้องถนนในเมืองคาลิบู (Kalibu)
       


   *เทศกาลซินูล็อก (Sinulog)
          งานนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนมกราคมทุกปี เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) โดยจะจัดแสดงดนตรีและมีขบวนพาเหรดแฟนซีทั่วเมืองเซบู (Cebu)
  

   
     *เทศกาลดินาญัง (Dinayang)
          งานนี้จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) เช่นเดียวกับเทศกาลซินูล็อก แต่จะจัดขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคม ที่เมืองอิโลอิโย (Iloilo)

ภาษา


มีการใช้ภาษามากกว่า 170 ภาษา โดยส่วนมากเกือบทั้งหมดนั้นเป็นตระกูลภาษาย่อยมาลาโย-โปลินีเซียนตะวันตก แต่ในปี พ.ศ. 2530 รัฐธรรมนูญได้ระบุให้ภาษาฟิลิปีโนและภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ
ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้กันมากในประเทศฟิลิปปินส์มีทั้งหมด 8 ภาษา ได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาซินด์ ภาษาปัญจาบ ภาษาเกาหลี และภาษาอาหรับ
โดยฟิลิปปินส์นั้น มีภาษาประจำชาติคือ ภาษา ตากาล็อก
หมายเหตุ: จากการพูดคุยกับชาวฟิลิปปินส์ (รวมถึงนั่งดูรายการทีวีและฟังจากสถานีวิทยุ) ทราบว่า ปัจจุบัน ชาวฟิลิปปินส์ มีการใช้ภาษาที่เรียกว่า ทากรีส (Tagalog + English) คือพูดตากาล็อกคำอังกฤษคำ ผสมกันไปในประโยคสนทนา แต่เป็นที่เข้าใจกันในหมู่ของประชาชน แม้แต่ในรายการทีวีและรายการวิทยุ

ศาสนา


ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอันดับ 4 ของโลก นิกายโปรเตสแตนต์อันดับ 13 ของโลก ศาสนาอิสลามอันดับที่ 40 ของโลกศาสนาฮินดูอันดับที่ 7 ของโลก และพระพุทธศาสนาอันดับที่ 17 ของโลก (ดูเพิ่มได้ใน พุทธศาสนาในประเทศฟิลิปปินส์)
ร้อยละ 92.5 ของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 9 เป็นนิกายโปรเตสแตนต์
ชุดประจำชาติ
ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่า บารอง ตากาล็อก (barong Tagalog) ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าใยสัปปะรด มีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อสีครีมแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก (balintawak)
พาไปชม 10 ชุดประจำชาติอาเซียน
บารอง ตากาล็อก - ประเทศฟิลิปินส์

พาไปชม 10 ชุดประจำชาติอาเซียน
บาลินตาวัก - ประเทศฟิลิปินส์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น