ประเทศสาธารณรัฐสิงค์โปร์(The Republic of Singapone)

ประเทศสาธารณรัฐสิงค์โปร(The Republic of Singapone)



ที่ตั้ง :     ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของสิงคโปร์ คือ 136.8 กม. เหนือเส้นศูนย์สูตร โดยตั้งอยู่ระหว่าง         เส้นแวงที่ 103 องศา 38 ลิปดาตะวันออก กับเส้นแวงที่ 104 องศา 06 ลิปดาตะวันออก ประเทศเพื่อนบ้าน ทิศเหนือคือ ประเทศมาเลเซีย ทิศใต้และตะวันออกคือ ประเทศอินโดนีเซีย สิงคโปร์ประกอบด้วยเกาะใหญ่เกาะน้อยบริเวณรายรอบรวม 63 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือ เกาะ Singapore


ที่ตั้ง/ขนาด   ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของสิงคโปร์ คือ 136.8 กม. เหนือเส้นศูนย์สูตร โดยตั้งอยู่ระหว่างเส้นแวงที่ 103 องศา 38 ลิปดาตะวันออก กับเส้นแวงที่ 104 องศา 06 ลิปดาตะวันออก ประเทศเพื่อนบ้าน ทิศเหนือ ประเทศมาเลเซีย ทิศใต้และตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศสิงคโปร์มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 710.2 ตารางกิโลเมตร (ปี 2551) ประกอบ ด้วยเกาะใหญ่เกาะน้อยบริเวณรายรอบรวม 63 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือ เกาะ Singapore

ศาสนาพุทธ (42.5 %)   คริสต์ (14.5 %)    อิสลาม (14.9 %)   ฮินดู (4.0 %)  และอื่นๆ (24.1 %)    
ภาษา : ภาษาประจำชาติคือ ภาษามาเลย์  ภาษาราชการมี 4 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ  ภาษาจีนกลาง ภาษาทมิฬ และภาษามาเลย์  สำหรับภาษาธุรกิจและการบริหารคือ ภาษาอังกฤษ และมีการพูดเข้าใจกันอย่างแพร่หลาย ชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่พูดได้สองภาษา คือ ภาษาแม่ของตนและภาษาอังกฤษ
         ภูมิศาสตร์
ภาคกลางและภาคตะวันตกเป็นเนินเขา ซึ่งเนินเขาทางภาคกลางเป็นเนินเขาที่สูงที่สุดของประเทศ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของสิงคโปร์ และภาคตะวันออกเป็นที่ราบต่ำ ชายฝั่งทะเลมักจะต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ต้องมีการถมทะเล
ประวัติศาสตร์
         ยุดแรก
              สิงคโปร์เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ปลายสุดแหลมมาลายู เป็นสถานพักสินค้าของพ่อค้าทั่วโลก เดิมชื่อว่า เทมาเส็ก (ทูมาสิค) มีกษัตริย์ปกครอง ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้มีเจ้าผู้ครองนครปาเล็มบังเดินทางแสวงหาดินแดนใหม่เพื่อสร้างเมือง แต่เรือก็อับปางลง พระองค์ได้ว่ายน้ำขึ้นฝั่ง แล้วก็เห็นสัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างลำตัวสีแดงหัวดำหัวคล้ายสิงโตหน้าอกขาว พระองค์จึงถามคนติดตามว่า สัตว์ตัวนั้นคืออะไรคนติดตามก็ตอบว่ามันคือ สิงโต พระองค์จึงเปลี่ยนชื่อเทมาเส็กเสียใหม่ว่า สิงหปุระ ต่อมาสิงหปุระก็ได้ตกเป็นของสุลต่านแห่งมะละกอ
ยุดการล่าอาณานิคม
ประเทศแรกที่มายึดสิงคโปร์ไว้ได้คือโปรตุเกส เมื่อปี ค.ศ. 1511 แล้วก็ถูกชาวดัตช์มาแย่งไป แต่ประมาณปี ค.ศ. 1817 อังกฤษได้แข่งขันกับดัตช์ในเรื่องอาณานิคม อังกฤษได้ส่งเซอร์ โทมัส แสตมฟอร์ด บิงก์เลย์ แรฟเฟิลส์ มาสำรวจดินแดนแถบสิงคโปร์ ตอนนั้นสิงคโปร์ยังมีสุลต่านปกครองอยู่ แรฟเฟิลส์ได้ตกลงกับสุลต่านว่า จะตั้งสถานีการค้าของอังกฤษที่นี่ แต่สุดท้ายอังกฤษก็ยึดสิงคโปร์ไว้เป็นเมืองขึ้นได้สำเร็จ
ค.ศ. 1819 เซอร์ แสตมฟอร์ด ราฟเฟิล สำรวจเกาะสิงคโปร์ และก่อตั้งประเทศ
สงครามโลกครั้งที่ 2
ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ และก็สามารถยึดครองสิงคโปร์ไว้ได้ แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลง อังกฤษก็ได้ครอบครองสิงคโปร์เหมือนเดิม



 การเข้าร่วมกับมาเลเซีย
เมื่อสิงคโปร์เห็นมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ สิงคโปร์จึงรีบขอรวมชาติเข้ากับมลายูกลายเป็นสหภาพมลายาทันที เพื่อจะได้ไม่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอีก แต่สิงคโปร์ก็ไม่พอใจกับมาเลเซียมากนักเพราะมีการเหยียดชนชาติกัน ทำให้พรรคกิจประชาชนของสิงคโปร์ประกาศให้สิงคโปร์เป็นเอกราชตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1965 ตั้งแต่บัดนั้นมาในชื่อ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อแยกตัวออกมาแล้วพรรคกิจประชาชนก็ครองประเทศมาตลอดจนถึงทุกวันนี้

ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง


ประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์ก่อนศตวรรษที่ 14 มิได้ถูกบันทึกอย่างชัดเจนและแน่นอนนัก ในช่วงศตวรรษที่ 14 สิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรมัชฌาปาหิตแห่งชวา ต่อมาในต้นศตวรรษที่ 15 ก็อยู่ภายใต้การยึดครองของอาณาจักรสยาม จนถูกประมุขแห่งมะละกาเข้ามาแย่งชิงไป และเมื่อโปรตุเกสเข้ายึดครองมะละกา สิงคโปร์ก็กลายเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกสในราวปี ค.ศ. 1498 และต่อมาอยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอลันดาในช่วงศตวรรษที่ 17
เมื่ออังกฤษขยายอิทธิพลเข้ามาบริเวณแหลมมลายูในกลางศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มสนใจสิงคโปร์ ในปี ค.ศ. 1819 อังกฤษได้ขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากจักรวรรดิ์ยะโฮร์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา ในปี 1824 อังกฤษมีสิทธิครอบครองสิงคโปร์ตามข้อตกลงที่ทำกับฮอลันดา ต่อมาในปี ค.ศ. 1826 สิงคโปร์ถูกปกครองภายใต้ระบบสเตรตส์เซ็ตเติลเมนท์ (Straits Settlement) ซึ่งให้บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษควบคุมดูแลสิงคโปร์ รวมทั้งปีนัง และมะละกาด้วย และต่อมาในปี ค.ศ. 1857 รัฐบาลอังกฤษได้เข้ามาดูแลระบบนี้เอง ในปี ค.ศ. 1867 สิงคโปร์กลายเป็นอาณานิคม (Crown Colony) ของอังกฤษ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1946 จึงได้รับการยกฐานะให้เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศ (Separate Crow colony) เมื่ออังกฤษกลับมาควบคุมสิงคโปร์อีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากที่สิงคโปร์อยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1942-1946)
ในฐานะที่เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศนั้น สิงคโปร์มีอำนาจปกครองกิจการภายในของตนเองแต่ไม่มีอำนาจดูแลกิจการทหารและการต่างประเทศ และยังมีผู้ว่าราชการจากอังกฤษมาปกครองอยู่ ในสภานิติบัญญัติ (Legislative Council) นั้น อังกฤษเริ่มเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกตั้งสมาชิกบางส่วน (6 คน จาก 22 คน) ได้ ซึ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาบางส่วนนี้ในปี 1948 พรรคก้าวหน้า (Progressive Party) ของสิงคโปร์ได้ที่นั่งมากที่สุด ต่อมาในปี ค.ศ. 1951 สมาชิกสภาที่มาจากการเลือกตั้งถูกเพิ่มเป็น 9 คน ในจำนวน 25 คน และในปี ค.ศ. 1955 ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแรกสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งมีจำนวน 25 คน ในจำนวน 32 คน
ต่อมาอังกฤษให้ชาวสิงคโปร์มีอำนาจและมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากขึ้นในช่วง 10 ปี ก่อนที่สิงคโปร์จะประกาศเป็นสาธารณรัฐนั้น สิงคโปร์จึงอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาล 3 ชุด คือ (1) รัฐบาลของนายเดวิด มาร์แชล (David Marshall) จากปี 1955-1956 (2) รัฐบาลของนายลิม ยิว ฮ๊อค (Lim Yew Hock) จากปี ค.ศ. 1956-1959 และ (3) รัฐบาลของนาย ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) ซึ่งภายใต้รัฐบาลนี้สิงคโปร์มีอำนาจในการปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์แล้ว และนายลี กวน ยูได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ ต่อมาในช่วงปี 1963-1965 รัฐบาลชุดนี้ก็ได้ตัดสินใจเข้าไปรวมอยู่ในสมาพันธรัฐมาเลเซีย และอยู่ได้เพียง 2 ปี
นับจากปี ค.ศ. 1965 เมืองสิงคโปร์ประกาศตนเป็นประเทศเอกราช มีอำนาจอธิปไตยของตนเอง โดยปกครองในรูปของสาธารณรัฐ หลังจากนั้นสิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวเป็นเวลาถึง 25 ปี ซึ่งก็คือ นาย ลี กวน ยู ทั้งนี้เป็นเพราะพรรคกิจประชา (PAP: People’ Action Party) ซึ่งนาย ลี เป็นผู้ก่อตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 นั้นมีชัยชนะในการเลือกตั้งเกือบทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งทั่วไป หรือการเลือกตั้งซ่อม
ทศวรรษ 1990 เป็นจุดเริ่มต้นของกรปรับเปลี่ยนการปกครองสิงคโปร์จากผู้นำกลุ่มเก่า (Old Guards) เป็นผู้นำรุ่นใหม่ (New Guards) นายโก๊ะ จ๊กตง (Goh Chok Tong) ได้รับการคัดเลือกจากพรรคกิจประชาและคณะรัฐมนตรี ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สองของสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 1990 นาย ลี กวน ยู ยังดำรงตำแหน่งอยู่ในรัฐบาลชุดใหม่โดยเป็นรัฐมนตรีอาวุโส และในปี ค.ศ. 1993 สิงคโปร์เริ่มใช้ระบบประธานาธิบดีแบบใหม่ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
ปัจจุบันปี ค.ศ. 2006 ประเทศสิงคโปร์ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อเลือกผู้นำคนใหม่และทีม เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศต่อไป แต่อย่างไรก็ดี พรรคกิจประชาก็ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นเหมือนอย่างเดิม โดยพรรค PAP ได้รับที่นั่งในฝ่ายรัฐบาล 82 ที่นั่งจาก 84 ที่นั่ง ซึ่งเท่ากับสมัยนายโก๊ะ จ๊กตงได้รับในปี พ.ศ. 2544 แต่ได้คะแนนเสียงลดลงจากสมัยแรกที่ได้ 75.3 เป็น66.6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งรัฐบาลนี้ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของนาย ลี เซียน ลุง สมัยที่สองซึ่งรัฐบาลจะมีนโยบายผลักดันในเรื่องปัญหาคนยากไร้ ผู้สูงอายุและคนว่างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่นาย ลี เซียน ลุงจะได้รับการเลือกตั้งในครั้งนี้นั้น เขาได้เน้นโยบายแบ่งปันรายได้ผนวกกับความอ่อนแอและแตกแยกของพรรคฝ่ายค้าน ทำให้พรรค PAP ได้ครองอำนาจสืบทอดมาเป็นระยะเวลา 4 ทศวรรษ


การเมืองการปกครองของสิงคโปร์
สิงคโปร์ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด (The Constitution) แบ่งอำนาจการปกครองเป็น 3 ส่วน ดังนี้

1. สภาบริหาร (The Executive) ประกอบด้วยประธานาธิบดี และคณะรัฐมนตรี  ซึ่งมีหน้าที่บริหารประเทศผ่านกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานในสังกัดราชการอื่นๆ
ประธานาธิบดีสิงคโปร์มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี  โดยประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายเซลลาปัน รามา นาทาน (Mr. Sellapan Rama Nathan) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของสิงคโปร์ แต่เป็นคนที่ 2 ที่มาจากการเลือกตั้ง  เข้าดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2  เมื่อวันที่  1 กันยายน 2548
คณะรัฐมนตรีสิงคโปร์มาจากการเลือกตั้งทั่วไปทุก 5 ปี   พรรคการเมืองสำคัญ 4 พรรค ได้แก่ People’s Action Party (PAP) ของนายลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong)  ก่อตั้งในปี 2497 ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2502 ที่เริ่มมีการเลือกตั้ง  พรรค PAPได้รับคะแนนเสียงข้างมาก และจัดตั้งรัฐบาลปกครองประเทศด้วยความมั่นคงมาตลอด Worker’s Party (WP) ก่อตั้งขึ้นในปี 2500 ปัจจุบันมีนาย Low Thia Kiang เป็นหัวหน้าพรรค  Singapore Democratic Party (SDP) ก่อตั้งในปี 2523 ภายใต้การนำของนาย Chee Soo Juan  และ Singapore Democratic Alliance (SDA)  ก่อตั้งเมื่อปี 2544 จากการรวมพรรคเล็กหลายพรรค  ปัจจุบันมีนาย Chiam See Tong เป็นหัวหน้าพรรค
สำหรับตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐมนตรีปัจจุบัน ได้แก่
- นาย ลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong) นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- นาย โก๊ะ จ๊ก ตง (Goh Chok Tong) รัฐมนตรีอาวุโส และ Chairman of the Monetary Authority of Singapore
- นาย ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) รัฐมนตรีที่ปรึกษา
-  ศาสตราจารย์ เอส จายากูมาร์ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง (Jayakumar Shunmugam) กฎหมาย และรัฐมนตรีประสานงานกิจการ ด้านความมั่นคงแห่งชาติ
- นายจอร์จ เอี่ยว (George Yeo) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นาย ลิม เฮง เกียง (Lim Hng Kiang) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม
 2. รัฐสภา (Parliament) มาจากการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งล่าสุดวันที่ 6 พฤษภาคม 2549        ได้สมาชิกสภาผู้แทนรวม 84 คน แบ่งเป็นฝ่ายรัฐบาล รวม 82 คน มาจากพรรค People’s Action Party และฝ่ายค้านมี 2 คน มาจากพรรค Worker’s Party และพรรค Singapore Democratic Alliance  สำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไปกำหนดในต้นปี 2554
3. สภาตุลาการ (The Judiciary) แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ศาลชั้นต้น (Subordinate Courts)  และศาลฎีกา (Supreme Court)

เศรษฐกิจ



  1. การเพาะปลูก ปลูกยางพารา มะพร้าว ผัก ผลไม้ แต่พื้นที่มีจำกัด
  2. อาศัยวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน มีอุตสาหกรรมเบา เช่น ผลิตยางพารา ขนมปัง เครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมหนัก เช่น อู่ต่อเรือ ทำเหล็กกล้า ยางรถยนต์ มีกิจการกลั่นน้ำมันซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและเป็นผู้สร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันรายใหญ่ด้วย
  3. การค้าขาย เป็นท่าเรือปลอดภาษี ประเทศต่าง ๆ ส่งสินค้าต่าง ๆ มายังสิงคโปร์เพื่อส่งออก และสิงคโปร์ยังรับสินค้าจากยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เพื่อส่งไปขายต่อยังประเทศเพื่อนบ้าน มีท่าเรือน้ำลึก เหมาะในการจอดเรือส่งสินค้า
สิงคโปร์เป็นประเทศที่เล็กที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติมากเหมือนประเทศอื่น แต่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี เพราะสิงคโปร์พัฒนาเศรษฐกิจด้านการค้า โดยเป็นประเทศพ่อค้าคนกลางในการขายสินค้าเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าปลอดภาษี ทำให้สินค้าที่ผ่านทางสิงคโปร์มีราคาถูก ปัจจุบันสิงคโปร์มีท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ และทันสมัยที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง และยังได้เข้าไปลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชาและพม่า สิงคโปร์มีประชากรน้อยจึงต้องพึงพาแรงงานจากต่างชาติในทุกระดับ สิงค์โปร์เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีฐานะทางเศรษฐกิจและการเงินที่มั่งคั่งที่สุดประเทศนึงในโลก
ศาสนะและวัฒนธรรม
จากการที่มีประชากรหลายเชื้อชาติ สิงคโปร์จึงมีผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ คือ พระพุทธศาสนา ศาสนาฮินดู คริสต์ศาสนา และลัทธิเต๋า

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
          สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติหลากหลายศาสนา ทำให้ประเทศนี้มีศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย สำหรับเทศกาลที่สำคัญของสิงคโปร์ก็จะเป็นเทศกาลที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาเช่น  
          *เทศกาลตรุษจีน
          เทศกาลปีใหม่ของชาวจีนที่จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์                  
          *เทศกาล Good Friday
          จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการสละชีวิตของพระเยซูบนไม้กางเขนของชาวคริตส์ในเดือนเมษายน
          *เทศกาลวิสาขบูชา
          จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้าของชาวพุทธในเดือนพฤษภาคม
          *เทศกาล Hari Raya Puasa
          เทศกาลการเฉลิมฉลองของชาวมุสลิม ที่จัดขึ้นเมื่อสิ้นสุดพิธีถือศิลอดหรือรอมฏอนในเดือนตุลาคม
          *เทศกาล Deepavali
          เทศกาลแห่งแสงสว่างและเป็นงานขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดูที่จัดขึ้นเดือนพฤศจิกายน


ชุดประจำชาติ

สิงคโปร์ไม่มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เนื่องจากประเทศสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 เชื้อชาติหลัก ๆ ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และชาวยุโรป ซึ่งแต่ละเชื้อชาติก็มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เช่น ผู้หญิงมลายูในสิงคโปร์ จะใส่ชุดเกบาย่า (Kebaya) ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ หากเป็นชาวจีน ก็จะสวมเสื้อแขนยาว คอจีน เสื้อผ้าหน้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาว โดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบหรือผ้าแพรจีนก็ได้
พาไปชม 10 ชุดประจำชาติอาเซียน
ชุดเกบาย่า - ประเทศสิงคโปร์

          





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น