เศรษฐกิจและวัฒนธรรมประเทศกัมพูชา



  1. เกษตรกรรม อยู่บริเวณที่ราบภาคกลาง รอบทะเลสาบเขมร พืชที่สำคัญคือ ข้าวเจ้า ยางพารา พริกไทย
  2. การประมง บริเวณรอบทะเลสาบเขมร เป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดในภูมิภาค
  3. การทำป่าไม้ บริเวณเขตภูเขาทางภาคเหนือ โดยล่องมาตามแม่น้ำโขง
  4. การทำเหมืองแร่ ยังไม่ค่อยสำคัญ
  5. อุตสาหกรรม เป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม ส่วนใหญ่เป็นโรงสีข้าว โรงเลื่อย รองเท้า
ภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชาหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสังคมนิยมเป็นระบอบประชาธิปไตย และหลังจากสงครามภายใน ประเทศกัมพูชาเริ่มสงบลง และเริ่มพัฒนาฟื้นฟูบูรณะประเทศ ทำให้ความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น จึงเปิดโอกาสให้ ประเทศทำการค้าขายกับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น กัมพูชาจึงกำหนดนโยบายที่มุ่งหวังการพัฒนาศักยภาพทางการเกษตร การท่องเที่ยว และส่งเสริมให้มีการลงทุนจากต่างชาติ โดยกำหนดยุทธการต่างๆ เพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐและได้ดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การปรับปรุงกฎหมายด้านเศรษฐกิจ การเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนต่างประเทศ การปฏิรูประบบจัดเก็บภาษีเงินได้ และเร่งรัดพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น สนามบิน ถนน ไฟฟ้า ประปา และสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น ภายใต้ความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และ UNDP รวมทั้งประเทศที่ให้ความช่วยเหลืออื่นๆ
แต่การพัฒนาเศรษฐกิจของกัมพูชาได้เติบโตอย่างช้าๆ โดยเฉพาะในช่วงปี 2540-2541 กัมพูชาต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย และความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศถอนตัวออกจากประเทศกัมพูชา ส่งผลให้การฟื้นฟูบูรณะและการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างล่าช้า แต่หลังจากปี 2542 สถานการณ์การเมืองกัมพูชาเริ่มมีความมั่นคงพอสมควร และนับเป็นปีแรกที่กัมพูชามีสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในหมดไป ปัจจุบัน กัมพูชากำลังพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (ตุลาคม 2543 - กันยายน 2548) ทั้งนี้เพื่อให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในเกณฑ์ร้อยละ 6-7 ต่อปี ภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชาในอดีตที่ผ่านมาสามารถสรุปได้ดังนี้
สินค้าเกษตรกรรมถือว่าเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศประมาณร้อยละ 43 ของ GDP มาจากข้าวและปศุสัตว์ ส่วนการประมงและป่าไม้มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 5 สินค้าเกษตรที่ส่งออกได้แก่ข้าว ไม้ และยางพารา รองลงมาได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง สัตว์มีชีวิต ผลไม้ และปลา เป็นต้น ทั่วไปกัมพูชามีสินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ไม้ ยางพารา ข้าว และปลา สินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง บุหรี่ ทอง วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรและเครื่องยนต์
เศรษฐกิจกัมพูชาในปี 2546 คาดการณ์โดย The Economist Intelligence Unit (EIU) มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเหลือ 5.0 % และ International Monetary Fund (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจขยายตัว 4.7 % เทียบกับที่ขยายตัวราว 5.5 % ในปี 2545 ปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกัมพูชา ได้แก่ รายได้จากภาคการท่องเที่ยวที่ลดลง เนื่องจากเกิดเหตุการณ์การก่อความไม่สงบ โดยมีการเผาสถานทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ เกิดปัญหาการระบาดของโรคทางเดินหายใจ เฉียบพลันรุนแรง (SARS) ประกอบกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในกัมพูชา (หลังการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2546 ที่ผ่านมา) ทำให้นักท่องเที่ยวไม่มั่นใจในความปลอดภัยและ ปัญหาการเมืองที่ยังคงไร้เสถียรภาพ ทำให้นักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่นในการเข้าไปลงทุนในกัมพูชา ถึงแม้ว่าวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2546 สภาแห่งชาติของกัมพูชา (The National Assembly) ได้อนุมัติการออกกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายการลงทุนฉบับลงวันที่ 5 สิงหาคม 2534 (Law on the Amendment to the Law on Investment of the Kingdom of Cambodia) เพื่อเอื้อสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนแก่นักลงทุนต่างชาติ ส่วนภาคธุรกิจก่อสร้างยังคงอยู่ในภาวะซบเซา
ปี 2547 EIU และ IMF คาดว่าเศรษฐกิจกัมพูชาจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 5.5 % - 5.8 % ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลกัมพูชาคาดว่าจะขยายตัวสูงถึง 5.5 % - 6.0 % เนื่องจากรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น ประกอบกับเมื่อเดือนธันวาคม 2546 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศเพิ่มโควตานำเข้าสิ่งทอสำหรับปี 2547 ให้กัมพูชาเพิ่มขึ้นอีก 14 % ซึ่งคาดว่าจะทำให้กัมพูชามีรายได้จากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น และภาคธุรกิจก่อสร้างเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น และจากการที่กัมพูชาได้เข้าเป็นสมาชิก ใหม่ของ WTO อย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2547 ทำให้กัมพูชามีพันธกรณีที่ต้องเร่งปรับปรุงกฎหมายด้านการลงทุนให้ได้มาตรฐานสากล ซึ่งจะทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นและเข้าไปลงทุนในกัมพูชาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการย้ายฐานการผลิตเข้าไปตั้งโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชาเพื่อส่งออก เนื่องจากกัมพูชายังมีอัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ ทางด้านอัตราเงินเฟ้อ EIU และ IMF คาดว่าปี 2547 กัมพูชาจะมีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 3.1 % - 3.5 % จากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยราว 1.3 % - 2.6 % ในปี 2546 เนื่องจากราคาอาหารในประเทศปรับตัวสูงขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก (ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, 2547)



วัฒนธรรมประเทศกัมพูชา


ประเพณีทางศาสนา
ประชากรเกือบทั้งจังหวัดนับถือศาสนาพุทธ มีวันสำคัญทางศาสนาตรงกับประเทศไทย แต่มีค่านิยมทางศาสนาที่ต่างออกไป กล่าวคือประชาชนนิยมนำภัตตาหารไปทำบุญที่วัด จึงมีพระภิกษุสงฆ์น้อยมากที่จะออกบิณฑบาต และไม่มีค่านิยมที่ชายอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ต้องบวชทดแทนบุญคุณบิดามารดาดังเช่นในประเทศไทย

ประเพณีประจำจังหวัด

จังหวัดพระตะบองมีช่วงเทศกาลหรืองานบุญประจำปีที่สำคัญ ซึ่งจะมีคนคับคั่งเป็นพิเศษคือวันสงกรานต์ช่วงกลางเดือนเมษายน เทศกาลงานวันสารทเขมรช่วงปลายเดือนกันยายน ประเพณีลอยกระทงของพระตะบอง ซึ่งจะจัดงานลอยกระทงก่อนจังหวัดอื่น ๆ ของประเทศ ประมาณ 2 เดือน กล่าวคือจัดงานในเดือนออกพรรษา โดยมีประเพณีแข่งเรือในวันดังกล่าวด้วย เพื่อคัดเลือกตัวแทนไว้แข่งขันที่กรุงพนมเปญ (ในงานพระราชพิธีบุญแข่งเรือและลอยกระทงไฟของประเทศ ซึ่งจัดขึ้นในช่วงวันที่ 11-13 พฤศจิกายน) นอกจากนี้หากวัดไหนจัดงานฝังลูกนิมิต ก็จะมีประชาชนหลั่งไหลเข้าร่วมงานมากเป็นพิเศษ เป็นที่น่าสังเกตว่าช่วงงานเทศกาลดังกล่าวจะมีประชาชนที่ไปทำงานต่างถิ่น กลับภูมิลำเนา ประชาชนจึงค่อนข้างเยอะ ซึ่งเป็นโอกาสของผู้ประกอบการ SMEs ที่จะถือโอกาสเข้าร่วมเปิดตัวสินค้า การสนับสนุนการจัดงาน หรือขายสินค้าในช่วงเทศกาลดังกล่าว

ประเพณีและพิธีกรรมที่สำคัญ

สำหรับการแต่งงานชายหนุ่มและหญิงสาว เมื่อมีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ถือว่ามีความพร้อมหากจะใช้ชีวิตคู่ โดยฝ่ายชายจะให้พ่อแม่ไปสู่ขอฝ่ายสาวและมีสินสอดทองหมั้น เหมือนเช่นในประเทศไทย แต่การจัดงานแต่งงานที่จังหวัดพระตะบองจะต่างออกไปจากจังหวัดอื่นๆ กล่าวคือจะจัดงานเป็นเวลา 2-3 วัน แขกเหรื่อที่มาในงานมักจะมีการแต่งหน้าทำผมเป็นพิเศษเพื่อให้เกียรติเจ้าของงาน ส่วนเจ้าภาพก็จะเป็นฝ่ายจัดงานเลี้ยง มีการจัดศิลปะการแสดงให้ชม ส่วนค่านิยมเรื่องการอยู่ก่อนแต่ง การจับมือถือแขนกันระหว่างชายกับหญิง หรือการแสดงออกซึ่งความรักในที่สาธารณะไม่ได้รับการยอมรับจากคนทั่วไป แม้จะแต่งงานกันแล้วก็มักจะไม่แสดงออกในเรื่องดังกล่าว จังหวัดพระตะบองจึงขึ้นชื่อว่าค่อนข้างอนุรักษ์นิยมซึ่งจะพบปัญหาในเรื่องดังกล่าวน้อยมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะจะถูกกระบวนการทางสังคม เช่น การตำหนิติเตียน และการนินทา จากคนทั่วไป
ส่วนประเพณีอื่น ๆ เช่น มีการทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เช่นเดียวกับในเมืองไทย มีการทำบุญต่ออายุให้กับคนชรา แต่มีประเพณีที่แตกต่างไปบ้าง เช่น มีการจัดพิธีศพที่บ้าน ส่วนการฌาปนกิจศพ ดำเนินการที่วัด และเมื่อมีงานพิธีต่าง ๆ ก็มักจะมีการตกแต่งสถานที่จัดงานและมีการเปิดเครื่องขยายเสียงดัง เพื่อเป็นการแจ้งให้แขกเหรื่อทราบว่ามีการจัดงานพิธี
พฤติกรรมการใช้ชีวิต
คนพระตะบองโดยทั่วไปมีนิสัยใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย เมื่อพ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยว ได้เงินมาก็มักจะต่อเติมบ้านหรือไม่ก็ซื้อรถจักรยานยนต์ เพราะถือว่าเป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคมอย่างหนึ่ง ไม่ค่อยรู้จักอดออม ส่วนกลุ่มนักธุรกิจที่มีฐานะอยู่บ้างมักเก็บเงินไว้ที่บ้าน ไม่นิยมเก็บเงินไว้ที่ธนาคาร ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะไม่เชื่อมั่นในระบบธนาคาร
พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ชาวพระตะบองนิยมอาหารที่มีรสชาติออกหวาน รับประทานไม่เผ็ดมาก ไม่นิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน แม้แต่กลุ่มคนมีฐานะก็ไม่นิยมรับประทานอาหารนอกบ้านเช่นกัน กลุ่มคนที่รับประทานอาหารนอกบ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มข้าราชการ พนักงานขององค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) และกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
พฤติกรรมการนอน คนพระตะบองจะเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำ ประมาณ 2-3 ทุ่ม เมื่อถึงเวลาดังกล่าวก็จะค่อนข้างเงียบ ยกเว้นกลุ่มคนที่ต้องการท่องเที่ยวกลางคืนตามเธค ผับ หรือบาร์ และที่สำคัญคือมีธรรมเนียมนอนกลางวัน เช่นเดียวกับคนในฝั่งยุโรป โดยเมื่อเลิกงานประมาณ 11 นาฬิกา กลับบ้านทานข้าวเสร็จก็นอน พอถึงช่วง 14 นาฬิกา ก็จะกลับมาทำงานกันอีกรอบ
การรับวัฒนธรรมต่างชาติ
คนดั้งเดิมทั่วไปนิยมแต่งกายโดยสวมใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวแบบปกปิดมิดชิด แต่ปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากภาพยนตร์และละครจากประเทศไทย จึงเริ่มพบเห็นการใส่เสื้อยืดและกางเกงขาสั้นเมื่ออยู่ที่บ้าน แต่ก็ยังไม่ถึงกับการสวมใส่เสื้อผ้าสายเดี่ยวเช่นในประเทศไทย อย่างไรก็ดีเมื่อจะต้องออกนอกบ้านคนส่วนใหญ่ก็ยังนิยมใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวอยู่
สุภาพสตรีนิยมแต่งหน้าทำผม ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากประเทศไทย และประเทศเกาหลีค่อนข้างได้รับความนิยม ส่วนการทำสีผมอาจกล่าวได้ว่ารับอิทธิพลโดยตรงจากประเทศไทย เพราะในร้านเสริมสวยแบบทรงผมเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นดาราสาวของไทย ส่วนมากคนที่จะทำผมมักเป็นสุภาพสตรีที่พอมีฐานะอยู่บ้าง เนื่องจากอัตราค่าบริการค่อนข้างแพงคิดเป็นเงินไทยก็ประมาณครั้งละ 1,000 บาท ส่วนการทำสีผมของสุภาพบุรุษยังไม่ได้รับความนิยม แม้แต่แฟชั่นการเจาะหูในสุภาพบุรุษก็มีให้เห็นน้อยมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอาจารย์ในโรงเรียนค่อนข้างเข้มงวดกับเรื่องดังกล่าว
ในช่วงประมาณ 5-6 ปีหลัง มีการรับวัฒนธรรมวันวาเลนไทน์เข้ามาในจังหวัด พระตะบอง เมื่อถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี จะมีดอกกุหลาบวางขายตามถนนหนทางเป็นจำนวนมาก หนุ่มสาวก็จะถือโอกาสในวันดังกล่าวซื้อให้กัน เพื่อแสดงออกซึ่งความรัก

ชุดประจำชาติ
ชุดประจำชาติของกัมพูชาคือ ซัมปอต (Sampot) หรือผ้านุ่งกัมพูชา ทอด้วยมือ มีทั้งแบบหลวมและแบบพอดี คาดทับเสื้อบริเวณเอว ผ้าที่ใช้มักทำจากไหมหรือฝ้าย หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ซัมปอตสำหรับผู้หญิงมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย ทั้งนี้ ซัมปอดมีหลายแบบซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนชั้นทางสังคมของชาวกัมพูชา ถ้าใช้ในชีวิตประจำวันจะใช้วัสดุราคาไม่สูง ซึ่งจะส่งมาจากประเทศญี่ปุ่น นิยมทำลวดลายตามขวาง ถ้าเป็นชนิดหรูหราจะทอด้ายเงินและด้ายทอง




                               ซัมปอต - ประเทศกัมพูชา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น