ประเทศสหภาพพม่า(Union of Myanmar)



สหภาพพม่า (Union of Myanmar)





ข้อมูลทั่วไป
เมืองหลวง กรุงย่างกุ้ง (Yangon)
พื้นที่ 657,740 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เท่าของไทย)
ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับจีน (2,185 กิโลเมตร)
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับลาว (235 กิโลเมตร) และไทย (2,401 กิโลเมตร)
            ทิศตะวันตกติดกับอินเดีย (1,463 กิโลเมตร) และบังกลาเทศ (193 กิโลเมตร) 
ทิศใต้ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล 
ประชากร 50.2 ล้านคน (2547) มีเผ่าพันธุ์ 135 เผ่าพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อชาติหลัก ๆ 8 กลุ่ม คือพม่า (ร้อยละ 68) ไทยใหญ่ (ร้อยละ 8) กะเหรี่ยง (ร้อยละ 7) ยะไข่ (ร้อยละ 4) จีน (ร้อยละ 3) มอญ (ร้อยละ 2) อินเดีย (ร้อยละ 2)
ศาสนา ศาสนาพุทธ (ร้อยละ 90) ศาสนาคริสต์ (ร้อยละ 5) ศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 3.8) ศาสนาฮินดู (ร้อยละ 0.05) 
ภาษาราชการ ภาษาพม่า
รูปแบบการปกครอง เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council – SPDC)โดยมีประธาน SPDC เป็นประมุข
ประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล
- ประธาน SPDC พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย (Senior General Than Shwe) (เมษายน 2535)
- นายกรัฐมนตรี พลเอก โซ วิน (General Soe Win) (19 ตุลาคม 2547)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายญาณ วิน(U Nyan Win) (18 กันยายน 2547)
เขตการปกครอง แบ่งการปกครองเป็น 7 รัฐ (state) สำหรับเขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย และ 7 ภาค (division) สำหรับเขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายพม่า

ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ของพม่านั้นมีความยาวนานและซับซ้อน มีประชาชนหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เผ่าพันธุ์เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏได้แก่มอญ ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 13 ชาวพม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและทิเบต เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี และได้กลายเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ที่ปกครองประเทศในเวลาต่อมา ความซับซ้อนของประวัติศาสตร์พม่ามิได้เกิดขึ้นจากกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนพม่าเท่านั้น แต่เกิดจากความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอันได้แก่ จีน อินเดียบังกลาเทศ ลาว และไทยอีกด้วย

มอญ

มนุษย์ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนของประเทศพม่าเมื่อราว 11,000 ปีมาแล้ว แต่ชนเผ่าแรกที่สามารถสร้างอารยธรรมขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนได้ก็คือชาวมอญ ชาวมอญได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้เมื่อราว 2,400 ปีก่อนพุทธกาล และได้สถาปนาอาณาจักรสุวรรณภูมิ อันเป็นอาณาจักรแห่งแรกขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ณ บริเวณใกล้เมืองท่าตอน (Thaton) ชาวมอญได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธผ่านทางอินเดียในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ซึ่งเชื่อว่ามาจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช บันทึกของชาวมอญส่วนใหญ่ถูกทำลายในระหว่างสงคราม วัฒนธรรมของชาวมอญเกิดขึ้นจากการผสมเอาวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ากับวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองจนกลายเป็นวัฒนธรรมลักษณะลูกผสม ในราวพุทธศตวรรษที่ 14 ชาวมอญได้เข้าครอบครองและมีอิทธิพลในดินแดนตอนใต้ของพม่า
พยู
ชาวปยูหรือพยูเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศพม่าตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 4 และได้สถาปนานครรัฐขึ้นหลายแห่ง เช่นที่พินนาคา (Binnaka) มองกะโม้ (Mongamo) อาณาจักรศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี(Halingyi) ในช่วงเวลาดังกล่าว ดินแดนพม่าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าระหว่างจีนและอินเดีย จากเอกสารของจีนพบว่า มีเมืองอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของชาวพยู 18 เมือง และชาวพยูเป็นชนเผ่าที่รักสงบ ไม่ปรากฏว่ามีสงครามเกิดขึ้นระหว่างชนเผ่าพยู ข้อขัดแย้งมักยุติด้วยการคัดเลือกตัวแทนให้เข้าประลองความสามารถกัน ชาวพยูสวมใส่เครื่องแต่งกายที่ทำจากฝ้าย อาชญากรมักถูกลงโทษด้วยการโบยหรือจำขัง เว้นแต่ได้กระทำความผิดอันร้ายแรงจึงต้องโทษประหารชีวิต ชาวพยูนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เด็ก ๆ ได้รับการศึกษาที่วัดตั้งแต่อายุ 7 ขวบจนถึง 20 ปี
นครรัฐของชาวพยูไม่เคยรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่นครรัฐขนาดใหญ่มักมีอิทธิพลเหนือนครรัฐขนาดเล็กซึ่งแสดงออกโดยการส่งเครื่องบรรณาการให้ นครรัฐที่มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ศรีเกษตร ซึ่งมีหลักฐานเชื่อได้ว่า เป็นเมืองโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศพม่า ไม่ปรากฏหลักฐานว่าอาณาจักรศรีเกษตรถูกสถาปนาขึ้นเมื่อใด แต่มีการกล่าวถึงในพงศาวดารว่ามีการเปลี่ยนราชวงศ์เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 637 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาณาจักรศรีเกษตรต้องได้รับการสถาปนาขึ้นก่อนหน้านั้น มีความชัดเจนว่า อาณาจักรศรีเกษตรถูกละทิ้งไปในปีพุทธศักราช 1199 เพื่ออพยพย้ายขึ้นไปสถาปนาเมืองหลวงใหม่ทางตอนเหนือ แต่ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองใด นักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองหะลินคยี อย่างไรก็ตามเมืองดังกล่าวถูกรุกรานจากอาณาจักรน่านเจ้าในราวพุทธศตวรรษที่ 15 จากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงชาวพยูอีก

อาณาจักรพุกาม



      อังวะและหงสาวดี




หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม พม่าได้แตกแยกออกจากกันอีกครั้ง ราชวงศ์อังวะซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรพุกามได้ถูกสถาปนาขึ้นที่เมืองอังวะในปีพุทธศักราช 1907 ศิลปะและวรรณกรรมของพุกามได้ถูกฟื้นฟูจนยุคนี้กลายเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมของพม่า แต่เนื่องด้วยอาณาเขตที่ยากต่อป้องกันการรุกรานจากศัตรู เมืองอังวะจึงถูกชาวไทใหญ่เข้าครอบครองได้ในปีพุทธศักราช 2070

สำหรับดินแดนทางใต้ ชาวมอญได้สถาปนาอาณาจักรของพวกตนขึ้นใหม่อีกครั้งที่หงสาวดี โดยกษัตริย์ธรรมเจดีย์ (ครองราชย์ พ.ศ. 2035 – 2070) เป็นจุดเริ่มต้นยุคทองของมอญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาทและศูนย์กลางทางการค้าขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา





หลังจากถูกรุกรานจากไทใหญ่ ชาวอังวะได้อพยพลงมาสถาปนาอาณาจักรแห่งใหม่โดยมีศูนย์กลางที่เมืองตองอูในปีพุทธศักราช 2074 ภายใต้การนำของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (ครองราชย์ พ.ศ. 2074–2093) ซึ่งสามารถรวบรวมพม่าเกือบทั้งหมดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อีกครั้ง
ในช่วงระยะเวลานี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาค ชาวไทใหญ่มีกำลังเข้มแข็งเป็นอย่างมากทางตอนเหนือ การเมืองภายในอาณาจักรอยุธยาเกิดความไม่มั่นคง ในขณะที่โปรตุเกสได้เริ่มมีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสามารถเข้าครอบครองมะละกาได้ เกี่ยวกับการเข้ามาของบรรดาพ่อค้าชาวยุโรป พม่ากลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง การที่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองหงสาวดี เหตุผลส่วนหนึ่งก็เนื่องด้วยทำเลทางการค้า พระเจ้าบุเรงนอง (ครองราชย์ พ.ศ. 2094–2124) ซึ่งเป็นพระเทวัน (พี่เขย) ของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ และสามารถเข้าครอบครองอาณาจักรต่าง ๆ รายรอบได้ อาทิ มณีปุระ (พ.ศ. 2103) อยุธยา (พ.ศ. 2112) ราชการสงครามของพระองค์ทำให้พม่ามีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สุด อย่างไรก็ตาม ทั้งมณีปุระและอยุธยา ต่างก็สามารถประกาศตนเป็นอิสระได้ภายในเวลาต่อมาไม่นาน
เมื่อต้องเผชิญกับการก่อกบฏจากเมืองขึ้นหลายแห่ง ประกอบกับการรุกรานของโปรตุเกส กษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูจำเป็นต้องถอนตัวจากการครอบครองดินแดนทางตอนใต้ โดยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองอังวะ พระเจ้าอะนอกะเพตลุน (Anaukpetlun) พระนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้งในพุทธศักราช 2156 พระองค์ตัดสินใจที่จะใช้กำลังเข้าต่อต้านการรุกรานของโปรตุเกส พระเจ้าทาลุน (Thalun) ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ ได้ฟื้นฟูหลักธรรมศาสตร์ของอาณาจักรพุกามเก่า แต่พระองค์ทรงใช้เวลากับเรื่องศาสนามากเกินไป จนละเลยที่จะใส่ใจต่ออาณาเขตทางตอนใต้ ท้ายที่สุด หงสาวดี ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสซึ่งตั้งมั่นอยู่ในอินเดีย ก็ได้ทำการประกาศเอกราชจากอังวะ จากนั้นอาณาจักรของชาวพม่าก็ค่อย ๆ อ่อนแอลงและล่มสลายไปในปีพุทธศักราช 2295 จากการรุกรานของชาวมอญ


ราชวงศ์อลองพญา

ราชวงศ์อลองพญาได้รับการสถาปนาขึ้นและสร้างความเข้มแข็งจนถึงขีดสุดได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว พระเจ้าอลองพญาซึ่งเป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมจากชาวพม่า ได้ขับไล่ชาวมอญที่เข้ามาครอบครองดินแดนของชาวพม่าได้ในปี พ.ศ. 2296 จากนั้นก็สามารถเข้ายึดครองอาณาจักรมอญได้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2302 ทั้งยังสามารถกลับเข้ายึดครองกรุงมณีปุระได้ในช่วงเวลาเดียวกัน พระองค์สถาปนาให้เมืองย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 2315 หลังจากเข้ายึดครองตะนาวศรี (Tenasserim) พระองค์ได้ยาตราทัพเข้ารุกรานอยุธยา แต่ต้องประสบความล้มเหลวเมื่อพระองค์สวรรคตระหว่างการสู้รบ พระเจ้าเซงพะยูเชง (Hsinbyushin, ครองราชย์ พ.ศ. 2306 – 2319) พระราชโอรส ได้โปรดให้ส่งทัพเข้ารุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2309 ซึ่งประสบความสำเร็จในปีถัดมา ในรัชสมัยนี้ แม้จีนจะพยายามขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนพม่า แต่พระองค์ก็สามารถยับยั้งการรุกรานของจีนได้ทั้งสี่ครั้ง (ในช่วงปี พ.ศ. 2309–2312) ทำให้ความพยายามในการขยายพรมแดนของจีนทางด้านนี้ต้องยุติลง ในรัชสมัยของพระเจ้าโบดอพญา (Bodawpaya, ครองราชย์ พ.ศ. 2324–2362) พระโอรสอีกพระองค์หนึ่งของพระเจ้าอลองพญา พม่าต้องสูญเสียอำนาจที่มีเหนืออยุธยาไป แต่ก็สามารถผนวกดินแดนยะไข่ (Arakan) และตะนาวศรี (Tenasserim) เข้ามาไว้ได้ในปี พ.ศ. 2327 และ 2336 ตามลำดับ ในช่วงเดือนมกราคมของปี พ.ศ. 2366 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าบาคยีดอว์ (Bagyidaw, ครองราชย์ พ.ศ. 2362–2383) ขุนนางชื่อมหาพันธุละ (Maha Bandula) นำทัพเข้ารุกรานแคว้นอัสสัมได้สำเร็จ ทำให้พม่าต้องเผชิญหน้าโดยตรงกับอังกฤษที่ครอบครองอินเดียอยู่ในขณะนั้น


สงครามกับอังกฤษและการล่มสลายของราชอาณาจักรพม่า




สืบเนื่องจากการพยายามขยายอำนาจของอังกฤษ กองทัพอังกฤษได้เข้าทำสงครามกับพม่าในปี พ.ศ. 2367 สงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่หนึ่งนี้ (พ.ศ. 2367–2369) ยุติลงโดยอังกฤษเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ฝ่ายพม่าจำต้องทำสนธิสัญญายันดาโบ (Yandaboo) กับอังกฤษ ทำให้พม่าต้องสูญเสียดินแดนอัสสัม มณีปุระ ยะข่าย และตะนาวศรีไป ซึ่งอังกฤษเริ่มก็ต้นตักตวงทรัพยากรต่าง ๆ ของพม่านับแต่นั้น เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับวัตถุดิบที่จะป้อนสู่สิงคโปร์ สร้างความแค้นเคืองให้กับทางพม่าเป็นอย่างมาก กษัตริย์องค์ต่อมาจึงทรงยกเลิกสนธิสัญญายันดาโบ และทำการโจมตีผลประโยชน์ของฝ่ายอังกฤษ ทั้งต่อบุคคลและเรือ เป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่สอง ซึ่งก็จบลงโดยชัยชนะเป็นของอังกฤษอีกครั้ง หลังสิ้นสุดสงครามครั้งนี้ อังกฤษได้ผนวกหงสาวดีและพื้นที่ใกล้เคียงเข้าไว้กับตน โดยได้เรียกดินแดนดังกล่าวเสียใหม่ว่าพม่าตอนใต้ สงครามครั้งนี้ก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในพม่า เริ่มต้นด้วยการเข้ายึดอำนาจโดยพระเจ้ามินดง (Mindon Min, ครองราชย์ พ.ศ. 2396–2421) จากพระเจ้าปะกัน (Pagin Min, ครองราชย์ พ.ศ. 2389–2396) ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระชนนี พระเจ้ามินดงพยายามพัฒนาประเทศพม่าเพื่อต่อต้านการรุกรานของอังกฤษ พระองค์ได้สถาปนากรุงมัณฑะเลย์ ซึ่งยากต่อการรุกรานจากภายนอก ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการรุกรานจากอังกฤษได้

รัชสมัยต่อมา พระเจ้าธีบอ (Thibow, ครองราชย์ พ.ศ. 2421–2428) ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้ามินดง ทรงมีบารมีไม่พอที่จะควบคุมพระราชอาณาจักรได้ จึงทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นไปทั่วในบริเวณชายแดน ในที่สุดพระองค์ได้ตัดสินพระทัยยกเลิกสนธิสัญญากับอังกฤษที่พระเจ้ามินดงได้ทรงกระทำไว้ และได้ประกาศสงครามกับอังกฤษเป็นครั้งที่สามในปีพุทธศักราช 2428 ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้อังกฤษสามารถเข้าครอบครองดินแดนประเทศพม่าส่วนที่เหลือเอาไว้ได้


เอกราช


พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2429 และระยะก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เล็กน้อย ญี่ปุ่นได้เข้ามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ติดต่อกับพวกตะขิ่น ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาหนุ่มที่มีหัวรุนแรง มีออง ซาน นักชาตินิยม และเป็นผู้นำของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุ้งเป็นหัวหน้า พวกตะขิ้นเข้าใจว่าญี่ปุ่นจะสนับสนุนการประกาศอิสรภาพของพม่าจากอังกฤษ แต่เมื่อญี่ปุ่นยึดครองพม่าได้แล้ว กลับพยายามหน่วงเหนี่ยวมิให้พม่าประกาศเอกราช และได้ส่งอองซานและพวกตะขิ่นประมาณ 30 คน เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อรับคำแนะนำในการดำเนินการเพื่อเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ

เมื่อคณะของอองซานได้เดินทางกลับพม่าใน พ.ศ. 2485 อองซานได้ก่อตั้ง องค์การสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ (Anti-Fascist Peoples Freedom League : AFPFL) เพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับ ๆ องค์การนี้ภายหลังได้กลายเป็นพรรคการเมือง ชื่อ พรรค AFPFL เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว อองซานและพรรค AFPFL ได้เจรจากับอังกฤษ โดยอังกฤษยืนยันที่จะให้พม่ามีอิสรภาพปกครองตนเองภายใต้เครือจักรภพ และมีข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำพม่าช่วยให้คำปรึกษา แต่อองซานมีอุดมการณ์ที่ต้องการเอกราชอย่างสมบูรณ์ อังกฤษได้พยายามสนันสนุนพรรคการเมืองอื่น ๆ ขึ้นแข่งอำนาจกับพรรค AFPFL ของอองซานแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงยินยอมให้พรรค AFPFL ขึ้นบริหารประเทศโดยมีอองซานเป็นหัวหน้า อองซานมีนโยบายสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และต้องการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษโดยสันติวิธี จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์ในพรรค AFPFL อองซานและคณะรัฐมนตรีอีก 6 คน จึงถูกลอบสังหาร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ขณะที่เดินออกจากที่ประชุมสภา ต่อมาตะขิ้นนุหรืออูนุได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนและมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2490 โดยอังกฤษได้มอบเอกราชให้แก่พม่าแต่ยังรักษาสิทธิทางการทหารไว้ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 อังกฤษจึงได้มอบเอกราชให้แก่พม่าอย่างสมบูรณ์

ภายหลังจากพม่าได้รับเอกราชแล้วการเมืองภายในประเทศก็มีการสับสนอยู่ตลอดเวลา นายกรัฐมนตรี คือ นายอูนุถูกบีบให้ลาออก เมื่อพ.ศ. 2501 ผู้นำพม่าคนต่อมาคือนายพลเน วิน ซึ่งได้ทำการปราบจลาจลและพวกนิยมซ้ายจัดอย่างเด็ดขาด เขาได้จัดไห้มีการเลือกตั้งทั่วประเทศใน พ.ศ. 2503 ทำให้นายอูนุได้กลับมาเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ เพราะได้รับเสียงข้างมากในสภา



ภาพเจดีย์ชเวดากอง วาดโดยช่างภาพชาวอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2368

ภูมิประเทศ
ประเทศพม่า ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 676,578 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ (หรือคาบสมุทรอินโดจีน) และใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 9° และ 29° เหนือ และลองติจูด 92° และ 102° ตะวันออก
ประเทศพม่ามีพรมแดนติดต่อกับบังกลาเทศและอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือ พรมแดนทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับทิเบตและมณฑลยูนนานของจีนยาวถึง 2,185 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดต่อกับลาวและไทย พม่ามีแนวชายฝั่งต่อเนื่องตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทางตะวันตกเฉียงใต้และใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของพรมแดนทั้งหมด

การเมืองการปกครองการเมือง                รัฐบาลพม่าซึ่งมีแกนนำมาจากนายทหารที่เข้ายึดอำนาจการปกครองเมื่อปี 2531 ยังคงมี
การปกครองที่จำกัดสิทธิเสรีภาพทางการเมืองอย่างเข้มงวด และยังไม่มีรัฐธรรมนูญรองรับแม้คณะนายทหารยืนยันตลอดมาว่าจะอยู่ในอำนาจเป็นการชั่วคราวเพื่อวางรากฐานของระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืน แต่ก็อยู่ในอำนาจมาแล้วถึง 17 ปีเต็ม ในปัจจุบันแกนนำของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy – NLD) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2533 ยังคงถูกควบคุมตัวอยู่ โดยเฉพาะ นางออง ซาน ซู จี เลขาธิการพรรคฯ และยังมีนักโทษการเมืองถูกคุมขังอยู่อีกประมาณ 1,300 – 1,400 คน ขณะที่มีผู้ลี้ภัยทางการเมืองชาวพม่าในต่างประเทศอีกนับหมื่นคน
                หลังจากประชาคมระหว่างประเทศได้กดดันและใช้มาตรการลงโทษ (sanction) พม่าอย่างหนัก และหลายฝ่ายรวมทั้งประเทศไทยได้พยายามโน้มน้าวรัฐบาลพม่าอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลพม่าได้ดำเนินการเพื่อลดแรงกดดันจากประชาคมระหว่างประเทศอยู่บ้าง โดยเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2546 รัฐบาลพม่าได้ประกาศ “Roadmap towards Democracy” ของพม่าซึ่งกำหนดขั้นตอนการดำเนินการไปสู่ประชาธิปไตยของพม่า ขั้นตอน ได้แก่ (1) การฟื้นฟูการประชุมสมัชชาแห่งชาติ (National Convention) เพื่อวางหลักการของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (2) การดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอนที่จำเป็นเพื่อการมีประชาธิปไตยที่มีวินัยอย่างแท้จริง (genuine disciplined democracy) (3) การยกร่างรัฐธรรมนูญ (4) การจัดลงประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญ (5) การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา (6) การจัดประชุมรัฐสภา (7) การจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และเพื่อให้เป็นไปตามRoadmap ดังกล่าวรัฐบาลพม่าได้จัดการประชุมสมัชชาแห่งชาติขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2547 และได้มีการประชุมไปแล้วสามวาระ (วาระแรก ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 9 กรกฎาคม 2547 และวาระที่สอง ระหว่างวันที่ 17 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม2548 และวาระที่ ระหหว่างวันที่ ธันวาคม 2548 – 31 มกราคม 2549) ขณะนี้อยู่ระหว่างการพักการประชุม โดยรัฐบาลพม่าประกาศว่าจะจัดการประชุมอีกครั้งในราวเดือนปลายปี 2549
                อย่างไรก็ดี การดำเนินการตาม Roadmap ของพม่าก็มิได้เป็นไปโดยราบรื่น โดยเฉพาะการที่รัฐบาลพม่าจัดการประชุมสมัชชาแห่งชาติขึ้นโดยไม่มีผู้แทนพรรค NLD เข้าร่วม การที่นางออง ซาน ซู จี ยังไม่ได้รับการปล่อยตัว และที่สำคัญคือ การปลดพลเอก ขิ่น ยุ้น ซึ่งเป็นจักรกลสำคัญในกระบวนการ Roadmap ออกจากตำแหน่งในรัฐบาลเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2547 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวรัฐบาลพม่ามีท่าทีแข็งกร้าวต่อชนกลุ่มน้อย พรรค NLD และประชาคมระหว่างประเทศมากขึ้น ทำให้หลายฝ่ายไม่มั่นใจเกี่ยวกับอนาคตของ Roadmap

เศรษฐกิจ                รัฐบาลพม่าประกาศนโยบายตั้งแต่เข้ายึดอำนาจการปกครองใหม่ ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจพม่าจากระบบวางแผนส่วนกลาง (centrally-planned economy) เป็นระบบตลาดเปิดประเทศรองรับและส่งเสริมการลงทุนจากภายนอก ส่งเสริมการส่งออก การท่องเที่ยว และขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับภูมิภาค แต่ในทางปฏิบัติ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของพม่าไม่คืบหน้า รัฐบาลพม่าไม่ได้ดำเนินการในทิศทางดังกล่าวอย่างเต็มที่ รัฐบาลยังคงคุมและแทรกแซงภาคการผลิตต่าง ๆ อย่างเข้มงวด มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบด้านการค้าการลงทุนบ่อยครั้ง อาทิ เมื่อปี 2546 รัฐบาลพม่าได้ประกาศให้ทำการค้าข้าวโดยเสรี แต่ในปี 2547 ได้ประกาศห้ามส่งออกข้าวเป็นเวลา เดือน
                ปัจจุบัน แม้ว่ารัฐบาลพม่ายังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ ที่สำคัญเพื่อปฏิรูประบบเศรษฐกิจมหภาค แต่พยายามเร่งการพัฒนาภาคการเกษตร การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ การส่งเสริมการท่องเที่ยว การนำทรัพยากรมาใช้ (โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติและพลังน้ำ) และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
                ด้านเกษตรกรรม รัฐบาลพม่าให้ความสำคัญต่อการผลิตและส่งออกผลผลิตถั่ว ข้าว ยางพารา ฯลฯ โดยสภาการค้า (Trade Council) ภายใต้การกำกับการของรองพลเอกอาวุโส หม่อง เอ ได้ปรับระบบการส่งออกถั่วขึ้นใหม่เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและจูงใจให้เกษตรกร ขยายการเพาะปลูก และรัฐบาลพม่าพยายามส่งเสริมโครงการปลูกข้าวเพื่อการส่งออก แม้ได้เปลี่ยนนโยบายในเรื่องนี้กลับไปกลับมาหลายครั้ง แต่ล่าสุดได้หันมาส่งเสริมเรื่องนี้ โดยเมื่อกลางปี 2548 ได้อนุญาตให้ภาคเอกชนทำการปลูกข้าวเพื่อการส่งออกอีก 30 บริษัท นอกจากนี้ รัฐบาลพม่ายังให้ความสำคัญต่อพืชเศรษฐกิจรายการใหม่ ๆ อาทิ ถั่วแมคคาเดเมีย โดยได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปอบรมที่โครงการพัฒนาดอยตุงเมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 และขอให้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงส่งเมล็ดแมคคาเดเมีย 4.5 ตันไปปลูกในรัฐฉานของพม่า
                การลงทุนด้านพลังงานในพม่าเป็นแหล่งรายได้จากต่างประเทศที่สำคัญที่สุดของพม่าในปี 2547 – 2548 รัฐบาลพม่าได้ลงนามการสำรวจก๊าซธรรมชาติกับบริษัทเอกชนต่างประเทศหลายราย อาทิ จีน ไทย (ปตท.สผ.) อินเดีย และสาธารณรัฐเกาหลี ปัจจุบันการลงทุนด้านพลังงานในพม่ามีสัดส่วนประมาณร้อยละ 88 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดในพม่า มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2546 และ 128 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2547 นอกจากนั้น รัฐบาลพม่าเตรียมจะเปิดพื้นที่แหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในทะเลให้เอกชนต่างชาติลงทุนสำรวจและขุดเจาะเพิ่มอีก 13 แปลง (ยังคงสงวนแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติบนบกไว้สำหรับวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของพม่า) ขณะเดียวกัน ก็เริ่มความร่วมมือด้านไฟฟ้าพลังน้ำกับไทยและจีน ซึ่งเป็นโครงการที่พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง

ด้านเศรษฐกิจ                (1) ความร่วมมือด้านการค้า
                ไทยและพม่ามีกลไกความร่วมมือในกรอบคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-พม่า (Joint Trade Commission – JTC) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน โดยได้ประชุมครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2547 ที่กรุงย่างกุ้ง
                ไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ ของพม่า โดยในปี 2548 มีมูลค่าการค้ารวม จำนวน 100,316.5 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปี2547 ร้อยละ 27.2) โดยไทยนำเข้า 71,915.9 ล้านบาท และส่งออกไปพม่า 28,400.6 ล้านบาท ทำให้ไทยเสียเปรียบดุลการค้า43,515.3 ล้านบาท (ส่วนหนึ่งมาจากค่าใช้จ่ายในการซื้อก๊าซธรรมชาติจากพม่า) สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก สำหรับสินค้าที่ไทยนำเข้าจากพม่า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ไม้ซุง ไม้แปรรูป สินแร่โลหะอื่น ๆ และเศษโลหะ เหล็กและเหล็กกล้า และถ่านหิน
                สำหรับการค้าชายแดนไทย – พม่า ในปี 2548 มีมูลค่าการค้ารวม 88,614.3 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจาก 67,668 ล้านบาทในปี2547 คิดเป็นร้อยละ 30.95) ไทยส่งออก 23,046.53 ล้านบาท และนำเข้า 65,567.79 ล้านบาท โดยไทยเสียเปรียบดุลการค้า42,521.26 ล้านบาท (เนื่องจากไทยต้องชำระค่าก๊าซธรรมชาติแก่พม่า)
                (2) ด้านการลงทุน
                ในปัจจุบัน ภาคเอกชนไทยลงทุนในพม่ารวมทั้งสิ้น 56 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 1,345.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 17.28 ของการลงทุนจากต่างประเทศในพม่าทั้งหมด โดยไทยมีมูลค่าการลงทุนในพม่าสูงเป็นอันดับที่ รองจากอังกฤษ ( 40 โครงการ 1,569.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และสิงคโปร์ (70 โครงการ 1,434.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) การลงทุนของไทยในพม่าที่สำคัญ ได้แก่ การลงทุนในสาขาพลังงาน (น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ) ประมง อุตสาหกรรมโรงแรมและการท่องเที่ยว และการแปรรูปสินค้าเกษตรกรรม
                ไทยและพม่าได้มีการเจรจาจัดทำความตกลงการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างกันเมื่อวันที่ 15-16 กันยายน2548 ที่กรุงเทพฯ โดยสามารถบรรลุข้อตกลงได้ในทุกข้อบทในร่างความตกลงฯ และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและพม่าได้ร่วมลงนามย่อในร่างความตกลงฯ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะนำร่างความตกลงฯ เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและลงนามต่อไป                (3) ความร่วมมือในการพัฒนาเครือข่ายคมนาคม รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือแก่พม่าในโครงการต่าง ๆ
                (4) ความร่วมมือในกรอบ ACMECS
                ในกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่น้ำโขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy – ACMECS) ไทยและพม่ามีความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ (1) การท่องเที่ยว โดยจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านการท่องเที่ยวและพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างภาคใต้ของไทย-เมืองทวายในพม่า (2) อุตสาหกรรม ซึ่งกำหนดพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพม่าที่เมืองเมียวดี เมาะลำใย และพะอัน โดยในชั้นนี้เห็นชอบกันที่จะเริ่มดำเนินการที่เมียวดีก่อน (3) พลังงาน มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานทดแทน เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2548 และการลงนามบันทึกความเข้าใจในการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่สาละวิน ฮัจจี และตะนาวศรี เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2548 และ (4)เกษตรกรรม ซึ่งมีการจัดทำ Contract Farming ที่เมืองเมียวดี โดยร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศได้นำคณะผู้แทนไทยไปหารือกับทางการพม่าเรื่องโครงการ Contract Farming ที่กรุงย่างกุ้ง ระหว่างวันที่ 28 – 29กันยายน 2548 นอกจากนี้ รัฐบาลไทยได้ให้วงเงินสินเชื่อ (credit line) จำนวน 4,000 ล้านบาทสำหรับพม่าในการซื้อเครื่องจักรและวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาประเทศ จนถึงวันที่ 13 มิถุนายน 2548 ไทยได้อนุมัติเบิกจ่ายไปแล้วร้อยละ 70 หรือประมาณ2,800 พันล้านบาท
                นอกจากนี้ ในปี 2547 ไทยได้ให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าจากพม่าซึ่งรวมถึงสินค้าเกษตรทั้งในรูปของการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (ASEAN Integration System of Preferences – AISP)และยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าในลักษณะ One Way Free Trade รวมจำนวน 461 รายการ และเพิ่มเป็น 850 รายการในปี 2548

ด้านวัฒนธรรม สังคมและสาธารณสุข
                โดยที่ไทยและพม่ามีพรมแดนติดต่อกันและประชาชนของทั้งสองประเทศมีความคล้ายคลึงทางด้านวัฒนธรรมและศาสนา ในภาพรวม รัฐบาลไทยและพม่าได้ลงนามในความตกลงทางวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2542 นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ได้แก่ โครงการอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายแก่วัดในพม่าซึ่งกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการติดต่อกันมาปีนี้เป็นปีที่ 10 การเชิญผู้สื่อข่าวพม่าเยือนประเทศไทย การสนับสนุนการสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยภาษา ต่างประเทศของพม่า การจัดโครงการวาดเขียนเกี่ยวกับประเทศไทยในหมู่เยาวชนพม่า เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่ายังสามารถสนับสนุนกิจกรรมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและศาสนาเพิ่มเติมได้อีกเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีในระดับประชาชนของทั้งสองประเทศมากขึ้น
                ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญต่อพม่า (และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ) เป็นลำดับแรกในโครงการความร่วมมือทางวิชาการ โดยไทยให้ทุนการศึกษา ทุนฝึกอบรม/ดูงาน การจัดส่งวัสดุอุปกรณ์ และการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้คำปรึกษาแนะนำในด้าน ต่าง ๆ ใน สาขาหลัก คือ การเกษตร การศึกษา และสาธารณสุข รวมทั้งสาขาอื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน โดยตั้งแต่ปี 2540-2547 ไทยให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือทางวิชาการแก่พม่าเป็นจำนวนเงิน92.45 ล้านบาท สำหรับปี 2548 ไทย ให้ความช่วยเหลือเป็นทุนการศึกษาและทุนฝึกอบรมหลักสูตรนานาชาติในไทยจำนวน 164ทุน นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 2545 รัฐบาลไทยยังได้เริ่มให้การสนับสนุนโครงการตามพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำหรับครูประถมศึกษาจากพม่าในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเกษตรและโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียนในไทยและการส่งคณะเจ้าหน้าที่ไทยไปติดตามผลการประชุมเชิงปฏิบัติการในสหภาพพม่า
                ในด้านความร่วมมือในการแก้ไขปัญหายาเสพติด เมื่อปี 2544 รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือแก่พม่าในโครงการพัฒนาหมู่บ้านยองข่าในรัฐฉาน (เขตของว้า) ดำเนินการโดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางเลือก (alternative development) โดยนำโครงการพัฒนาดอยตุงเป็นแบบอย่างเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนพม่าให้เลิกการปลูกฝิ่น และมีการให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การปลูกพืชผล การสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล การสาธารณสุข ฯลฯ (วงเงิน 50 ล้านบาท) แต่ภายหลังการปลดพลเอก ขิ่น ยุ้น โครงการดังกล่าวได้รับผลกระทบและหยุดชะงักไป
                นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลพม่าในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนชาวพม่า เมื่อวันที่ มีนาคม 2548 รัฐบาลไทยได้บริจาคข้าวสาร 1,000 ตันผ่านองค์การอาหารโลก (World Food Program – WFP) มูลค่า 10.54 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือชนกลุ่มน้อยในรัฐฉานที่ได้รับผลกระทบจากโครงการยุติการปลูกฝิ่น


ยามาซัตดอ หรือ รามายณะอย่างพม่า ซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากรามเกียรติ์ของไทย


ชุดประจำชาติของประเทศพม่า

          ชุดประจำชาติของชาวพม่าเรียกว่า ลองยี (Longyi) เป็นผ้าโสร่งที่นุ่งทั้งผู้ชายและผู้หญิง ในวาระพิเศษต่าง ๆ ผู้ชายจะใส่เสื้อเชิ้ตคอปกจีนแมนดารินและเสื้อคลุมไม่มีปก บางครั้งจะใส่ผ้าโพกศีรษะที่เรียกว่า กอง บอง (Guang Baung) ด้วย ส่วนผู้หญิงพม่าจะใส่เสื้อติดกระดุมหน้าเรียกว่า ยินซี (Yinzi) หรือเสื้อติดกระดุมข้างเรียกว่า ยินบอน (Yinbon) และใส่ผ้าคลุมไหล่ทับ
พาไปชม 10 ชุดประจำชาติอาเซียน

พาไปชม 10 ชุดประจำชาติอาเซียน
ลองยี - ปรเทศพม่า














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น