ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย(Republic of Indonesia)

ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย(Republic of Indonesia)




อินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนและทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว (อินโดนีเซีย:Kalimantan) , ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี (อินโดนีเซีย: Irian) และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์ (อินโดนีเซีย: Timor)



ที่ตั้ง ทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับมหาสมุทรอินเดีย        

ทิศตะวันออกติดกับติมอร์-เลสเต และปาปัวนิวกินีและทิศใต้ติดกับทะเลติมอร์


พื้นที่   ๕,๑๙๓,๒๕๐ ตร.กม.  เป็นแผ่นดิน ๒,๐๒๗,๐๘๗ตร.กม.เป็นพื้นที่ทะเล ๓,๑๖๖,๑๖๓ ตร.กม.  เป็น
ประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยกว่า ๑๗,๕๐๘ เกาะ รวมอยู่ใน
พื้นที่ ๔ ส่วน คือ  
       - หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วยเกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี  
 -  หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี   
ลอมบอก ซุมบาวา  ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
       - หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสีกับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
        - อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี
 -  อินโดนีเซียตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และเป็น
สะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทําให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อ
ระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบที่สําคัญต่างๆ  เช่น ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่อง
แคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งนํ้ามันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้และเอเชียตะวันออก


สภาพภูมิประเทศ
ลักษณะเป็นเกาะพื้นที่ต่ำ ในเกาะที่มีขนาดใหญ่จะมีพื้นที่ที่เป็นภูเขาอยู่ด้วย
สภาพภูมิอากาศ
อินโดนีเซียมีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน

ศาสนา

อิสลาม 86.1% โปรแตสเตนท์ 5.7% โรมัน คาทอลิก 3% ฮินดู 1.8% อื่นๆ หรือไม่ระบุ 3.4% (สัมมะโนประชากร พ.ศ. 2543)
ภาษา
ภาษาราชการคือ บาฮาซา อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) ซึ่งเป็นภาษาที่ดัดแปลงมาจากภาษามาเลเซีย ภาษาอื่นๆ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ดัทช์ ภาษาท้องถิ่น (ภาษาท้องถิ่นที่ใช้กันมากที่สุด ได้แก่ ภาษาชวา)


ประวัติศาสตร์



อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่ประมาณ 301 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2.1 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่างๆขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย
เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชในพ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าของอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซียได้ จากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจรัฐของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลงโดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียทำให้ประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาทโดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและได้เรียกร้องให้หยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียสามารถช่วยเหลือนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่งและคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย
ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราชแต่ความยุ่งยากยังคงมีอยู่เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอิเรียนตะวันตกเข้ากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุดเนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคุมดูแลอิเรียนตะวันตกและให้ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติปรากฏว่าชาวอิเรียนตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506


วัดปุรา ตามัน อยุน จังหวัดบาหลี เดิมเป็นที่ตั้งของอาณาจักรบาดุง

การเมืองการปกครอง                - การปกครองประเทศของในช่วงหลังจากได้รับเอกราชไม่สามารถสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจให้แก่ประเทศได้ ทำให้ประธานาธิบดีซูการ์โนประกาศยุบสภา ในปี พ.ศ. 2502 และได้จัดตั้งสภาที่ปรึกษาประชาชนขึ้นแทน และนำการปกครองแบบ ประชาธิปไตยแบบชี้นำ” มาใช้ นโยบายต่างประเทศในช่วงนี้เน้นการเผชิญหน้ากับเนเธอร์แลนด์และมาเลเซีย ต่อมา ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2508 เกิดการปฏิวัติโดยกลุ่มนายทหาร โดยได้รับการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิตส์อินโดนีเซีย ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านการเงินและยุทธโธปกรณ์จากจีน การปฏิวัตินำไปสู่การนองเลือด โดยได้มีการสังหารสมาชิกพรรคคอมมิวนิตส์ และสมาชิกองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องถึง 750,000 คน
                - ในเดือนมีนาคม 2509 พันตรีซูฮาร์โตได้เข้ายึดอำนาจการปกครอง และรักษาการในตำแหน่งประธานาธิบดี ในเดือนมีนาคม 2510 และได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีอินโดนีเซียต่อมาถึง สมัย ประธานาธิบดีซูฮาร์โตปกครองประเทศโดยใช้\"กลุ่มอาชีพ\" หรือโกลคาร์(ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นพรรคโกลคาร์) เป็นฐานเสียงสนับสนุนอำนาจทางการเมือง รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ โดยกำหนดให้ทหารมี “ทวิภารกิจ” คือ มีบทบาททางการเมืองและสังคม นอกเหนือจากบทบาทด้านความมั่นคง ประธานาธิบดีซูฮาร์โตประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจของอินโดนีเซียให้เจริญก้าวหน้า แต่ปัญหาการคอรัปชั่น ระบบอุปถัมภ์ ทำให้ประชาชนไม่พอใจที่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ตกอยู่กับครอบครัวประธานาธิบดีซูฮาร์โตและพวกพ้อง
                - ต่อมา เมื่อเกิดวิกฤติการเงินและเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 จนรัฐบาลอินโดนีเซียต้องลงนามความตกลงกู้เงินจาก IMFและมีภาระผูกพันในการปฏิรูปเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองทำให้ประชาชนไม่พอใจรัฐบาลมากขึ้น และในปี 2541 ได้เกิดเหตุการณ์ยิงนักศึกษามหาวิทยาลัยตรีสักตีเสียชีวิต ซึ่งได้ลุกลามเป็นจลาจล และการเผาทำลายอาคารร้านค้า ในระหว่าง 12-15 พ.ค. 2541 หลายฝ่ายรวมทั้งทหารได้สร้างแรงกดดันจนประธานาธิบดีซูฮาร์โตประกาศลาออกจากตำแหน่งใน 21 พ.ค. 2541และมอบตำแหน่งประธานาธิบดีแก่นายบาคารุดดิน ยูซุฟ ฮาบิบี รองประธานาธิบดี ตามข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญ
                - ประธานาธิบดีฮาบิบีได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2542 และนายอับดุรเราะห์มาน วาฮิด หรือกุสดุร ผู้นำองค์กรมุสลิม Nahdlatul Ulama (NU) และผู้ก่อตั้งพรรค PKB ได้รับเลือกโดยสภาที่ปรึกษาประชาชน (MPR) ชุดใหม่ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และนางเมฆาวดี ซูการ์โนบุตรี ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี
                - ประธานาธิบดีอับดุรเราะห์มานไม่ประสบความสำเร็จในการบริหารประเทศมากนัก และเมื่อเกิดคดีอื้อฉาวเกี่ยวข้องกับการรับเงินจากสุลต่านบรูไน และการยักยอกเงินจากองค์การสำรองอาหารแห่งชาติ หรือ Bulog ประธานาธิบดีอับดุรเราะห์มานถูกสภาอภิปรายไม่ไว้วางใจ และถูกสภา MPR ถอดถอนออกจากตำแหน่งในเดือนกรกฎาคม 2544 และนางเมฆาวตี ซูการ์โนปุตรีได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของอินโดนีเซียแทนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2544
                - เมื่อวันที่ เมษายน 2547 อินโดนีเซียได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฏร ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคGolkar ได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่ง โดยได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 128 ที่นั่ง จากจำนวนทั้งหมด 550 ที่นั่ง ส่วนพรรค Indonesian Democratic Party (PDI-P) ของประธานาธิบดีเมฆาวตีฯ ได้รับคะแนนเป็นอันดับสอง ได้ที่นั่ง 109 ที่นั่ง
                - การเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองอินโดนีเซียรอบที่ มีขึ้นเมื่อวันที่ กรกฎาคม2547 มีพรรคการเมืองทั้งหมด พรรค เสนอรายชื่อผู้สมัครเป็นคู่ (candidate pairs) ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี แต่เนื่องจากไม่มีผู้สมัครคู่ใดได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง คณะกรรมการการเลือกตั้งอินโดนีเซียจึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบที่ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2547 ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายการเลือกตั้งประธานาธิบดี (Presidential Election Act) ของอินโดนีเซีย โดย ดร. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono - SBY) / นายยูซุฟ คัลลา (Jusuf Kalla) จากพรรค Democratic Party (PD) และนางเมฆาวตีฯ /นายฮาชิม มูซาดี (Hasyim Muzadi) จากพรรค PDI – P ได้สิทธิ์ลงสมัครในรอบที่                 เมื่อวันที่ ตุลาคม 2547 คณะกรรมการการเลือกตั้งอินโดนีเซียได้ประกาศผลการเลือกตั้งรอบที่ อย่างเป็นทางการ โดย ดร. ซูซิโลฯ ได้รับชัยชนะ และได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสืบต่อจากนางเมฆาวตีฯ เมื่อวันที่ 20ตุลาคม 2547ระบบการเมืองการปกครอง
                - อินโดนีเซียมีระบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและ
หัวหน้าฝ่ายบริหารรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2488 ได้กำหนดให้ใช้หลักปัญจศีล เป็นหลักในการปกครองประเทศ ประกอบด้วย 1) การนับถือพระเจ้าองค์เดียว 2) การเป็นมนุษย์ที่เจริญและคงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม 3) ความเป็นเอกภาพของอินโดนีเซีย 4)ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน และ 5) ความยุติธรรมในสังคมชาวอินโดนีเซียทั้งมวล
                - โครงสร้างสถาบันทางการเมืองและการบริหารตามรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขล่าสุด
                1. สภาที่ปรึกษาประชาชน (People’s Consultative Assembly-MPR)
                     - ทำหน้าที่รัฐสภาของอินโดนีเซีย ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (People’s Representative Council : DPR)จำนวน 550 คน และสภาผู้แทนระดับภูมิภาค (Regional Representatives Council : DPD) จำนวน 128 คน ทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง
                     - MPR มีหน้าที่สำคัญ ประการ ได้แก่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การแต่งตั้งประธานาธิบดี/รองประธานาธิบดี และการถอดถอนประธานาธิบดี
                     - ประธานสภาคนปัจจุบัน คือ นาย Nur Wahid Hidayat
                2. สภาผู้แทนราษฎร (House of People’s Representatives-DPR )
                     - ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 550 คน มาจากการเลือกตั้ง มีหน้าที่หลักในการออกกฎหมายอนุมัติงบประมาณ และกำกับดูแลการทำงานของรัฐบาล โดยมีวาระการทำงาน ปี
                     - การพิจารณาร่างกฎหมายแต่ละฉบับต้องมีการหารือและได้รับความเห็นชอบร่วมกันระหว่าง DPR และประธานาธิบดี ร่างกฎหมายใดที่ไม่ได้รับความเห็นชอบร่วมจากประธานาธิบดีไม่สามารถนำกลับมาพิจารณาใหม่ได้อีก ขณะเดียวกันร่างกฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบร่วมจากประธานาธิบดีและผ่านการลงคะแนนเสียงจาก DPR แล้ว แต่ประธานาธิบดีไม่ลงนามด้วยเหตุผลใดก็ตาม ภายใน 30 วันให้ถือว่ามีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายได้โดยสมบูรณ์
                     - DPR ไม่มีอำนาจในการขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจประธานาธิบดี/รองประธานาธิบดีได้ การถอดถอนประธานาธิบดี/รองประธานาธิบดี ต้องทำตามขั้นตอนรัฐธรรมนูญ คือ DPR ต้องใช้คะแนนเสียง 2/3 ของผู้ร่วมประชุม (ที่มีจำนวนไม่น้อยกว่า 2/3ของจำนวนสมาชิก DPR ทั้งหมด) เสนอเรื่องการขอถอดถอนให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา และหากศาลรัฐธรรมนูยพิจารณาเห็นชอบตามที่เสนอ DPR จึงสามารถเสนอให้ MPR พิจารณาต่อไป (อำนาจสุดท้ายในการถอดถอนประธานาธิบดี/รองประธานาธิบดี อยู่ที่ MPR)
                     - ประธานสภาคนปัจจุบัน คือ นาย Agung Laksono ซึ่งเป็นรองประธานพรรคโกลคาร์ด้วย
                3. สภาผู้แทนระดับภูมิภาค (Regional Representatives Council : DPD)
                     - เป็นสถาบันใหม่ที่มีการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ เมษายน 2547 เพื่อทดแทนผู้แทนจากภูมิภาคและองค์กรสังคม/กลุ่มอาชีพที่เคยมีอยู่เดิม (ที่มาจากการแต่งตั้ง ทั้งนี้ สมาชิก DPD มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ คน รวมทั้งสิ้น 128 คน
                     - หน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิก DPD นอกเหนือจากการทำหน้าที่ใน MPR คือ การเสนอและให้ความเห็นร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจสู่ภูมิภาค การยุบ/รวมจังหวัด การบริหารทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมถึงการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ การเก็บภาษี การจัดระบบการศึกษา และศาสนา ให้กับ DPR เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาเรื่องนั้น
                     - ทั้งนี้ DPD มิได้มีหน้าที่กลั่นกรองร่างกฎหมายเหมือนวุฒิสภาของไทย
                4. สภาประชาชนระดับท้องถิ่น (Regional People’s House of Representative : DPRD)
                     - เพื่อส่งเสริมการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น บทบัญญัติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2543 กำหนดให้แบ่งระดับการปกครองภูมิภาคออกเป็นจังหวัด อำเภอ (regency) และตำบล/เทศบาล (Kota) โดยจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิก DPRD ในทุกระดับ (พร้อมกับการเลือกตั้ง DPR และ DPD)
                5. ประธานาธิบดี
                     - มาจากการเลือกตั้งโดยตรงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของอินโดนีเซีย (ที่ผ่านมาประธานาธิบดีมาจากการแต่งตั้งโดย MPR)
                     - ตามรัฐธรรมนูญระบุให้ประธานาธิบดีเป็นหัวหน้ารัฐบาลและเป็นผู้บัญชาการกองทัพ
                     - ประธานาธิบดีอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน สมัย (สมัยละ ปี)
                6. ศาลยุติธรรม
                     - รัฐธรรมนูญระบุให้อำนาจตุลาการอยู่ภายใต้การดูแลของศาลฎีกา และศาลระดับรองๆ ลงมา รวมถึงศาลรัฐธรรมนูญ
                     - การจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามบทบัญญัติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2544
                     - รัฐธรรมนูญปัจจุบันระบุว่าในการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกา คณะกรรมาธิการตุลาการ (Judicial Commission)เป็นผู้เสนอชื่อให้ DPR รับรอง จากนั้นจึงเสนอต่อให้ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้ง
                     - สมาชิกคณะกรรมาธิการตุลาการแต่งตั้งและถอดถอนโดยประธานาธิบดี ด้วยความเห็นชอบของ DPR
                7. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินสูงสุด (Supreme Audit Board : BPK)
                     - เป็นหน่วยงานใหม่อีกหน่วยงานหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมีหน้าที่รายงานการใช้งบประมาณต่อ DPR DPD และ DPRD (สภาท้องถิ่นระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล)
                     - สมาชิก BPK คัดเลือกโดย DPR โดยรับฟังความคิดเห็นของ DPD และแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
                - ภายหลังจากการประสบปัญหาเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใน อินโดนีเซียในปี 2541 ทำให้อำนาจต่อรองกับมหาอำนาจตะวันตกของอินโดนีเซียได้ ลดลง ดังนั้น อินโดนีเซียได้ปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของตนให้มีความหลากหลาย และเพิ่มมิติในด้านต่างๆ มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศของอินโดนีเซีย ยังคงดำเนินไปเพื่อมิให้ประเทศตะวันตกเข้ามาก้าวก่ายแทรกแซงกิจการภายในหรือกดดันอินโดนีเซียมากเกินไป
                - ปัจจุบัน อินโดนีเซียได้ดำเนินนโยบายระหว่างประเทศเชิงยืดหยุ่น เพื่อรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในปี 2544อินโดนีเซียได้ปรับปรุงความสัมพันธ์กับสิงคโปร์ จีน สหรัฐฯ และออสเตรเลีย และก่อนหน้านี้ มีการขยายความสัมพันธ์กับประเทศเอเชียใต้ เช่น อินเดีย และปากีสถาน และสถาปนาความสัมพันธ์กับติมอร์ตะวันออกหรือติมอร์เลสเตด้วย
                - อินโดนีเซียให้ความสำคัญกับกลุ่มประเทศมุสลิม องค์การการประชุมอิสลาม และกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เนื่องจากต้องการแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และใช้กลุ่มประเทศดังกล่าวเป็นพันธมิตรเพื่อคานอำนาจกับมหาอำนาจตะวันตก
                - ในช่วงปี 2544-2545 แม้ว่าอินโดนีเซียจะเน้นการปรับปรุงความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจที่สำคัญ โดยเฉพาะจีนและสหรัฐฯ (ประธานาธิบดี George W. Bush แห่งสหรัฐฯ ได้เดินทางเยือนอินโดนีเซีย เมื่อ 22 ตุลาคม 2546) ในช่วงปีที่ผ่านมา แต่อินโดนีเซียยังถือว่าอาเซียนเป็นเสาหลักสำหรับการดำเนินนโยบายต่างประเทศ
                -อินโดนีเซียให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับมาเลเซียและสิงคโปร์ เนื่องจากเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีเขตติดต่อกันและมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน
                -อินโดนีเซียจัดประชุม ASEAN Summit และ ASEAN+3 Summit ที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย ระหว่าง 6-8 ตุลาคม 2546และจัดประชุม Asia-Africa Summit ร่วมกับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ระหว่าง 22-24 เมษายน 2548


เศรษฐกิจการค้า                สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์จากไม้ กระดาษ น้ำมันปาล์ม กาแฟ ยาสูบ โกโก้ เครื่องเทศ ยางและผลิตภัณฑ์ ปลาและปลาหมึกแช่เย็นและแช่แข็ง สิ่งทอ เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม เคมีภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์
                สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ อะไหล่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ เครื่องจักรเครื่องกล เครื่องพิมพ์ เยื่อกระดาษ ไฮโดรคาร์บอน เรือและอุปกรณ์ พลาสติกและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า แป้งข้าวสาลี ข้าว เป็นต้น
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
          มีชนพื้นเมืองหลายชาติพันธุ์กระจายกันอยู่ตามเกาะ ทำให้วัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องที่แตกต่างกันไป
          *วายัง กูลิต (Wayang Kilit)
          เป็นการแสดงเชิดหุ่นเงาที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซีย และถือเป็นศิลปะการแสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการแสดงชนิดอื่น เพราะรวมศิลปะหลายด้านไว้ด้วยกัน โดยฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วยหนังสัตว์นิยมใช้วงดนตรีพื้นบ้านบรรเลงขณะแสดง
          *ระบำบารอง (Barong Dance)
          ละครพื้นเมืองดั้งเดิมของเกาะบาหลี มีการใช้หน้ากากและเชิดหุ่นเป็นตัวละคร โดยมีการเล่นดนตรีสดประกอบการแสดง เรื่องราวเป็นการต่อสู้กันของ บารอง คนครึ่งสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายความดีกับรังดา พ่อมดหมอผีตัวแทนฝ่ายอธรรม โดยฝ่ายธรรมะจะได้รับชัยชนะในที่สุด
          *ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ
          เป็นผ้าพื้นเมืองของอินโดนีเซียที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้มระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกนิยมใช้เป็นเครื่องแต่งกายของหนุ่มสาว โดยใช้เป็นผ้าโพกศีรษะชาย ผ้าคลุมศีรษะหญิง ผ้าทับกางเกงชาย และโสร่ง หรือผ้าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ซึ่งส่วนที่เรียกว่า “ปาเต๊ะ” คือส่วนที่ต้องนุ่งให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลายสีสันต่างไปจากส่วนอื่นๆ ในผ้าผืนเดียวกันนั่นเอง





ชุดประจำชาติอินโดนีเซีย
เกบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาว ผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติก ส่วนการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาวหรือเตลุก เบสคาพ (Teluk Beskap) ซึ่งเป็นการแต่งกายแบบผสมผสานระหว่างเสื้อคลุมสั้นแบบชวาและโสร่ง และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด
พาไปชม 10 ชุดประจำชาติอาเซียน
เกบาย่า - ประเทศอินโดนิเซีย

พาไปชม 10 ชุดประจำชาติอาเซียน
เตลุก เบสคาพ - ประเทศอินโดนิเซีย











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น